วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

หัวหน้า ควรวางตัวกับลูกน้องอย่างไรดี

love boss

หัวหน้างานที่ดี ผู้จัดการที่ดีเลิศ ล้วนแต่เป็นเป้าหมายที่ต้องการของคนที่ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชา มีหลักสูตรมากมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการเป็นผู้บังคับบัญชาที่ดี ซึ่งพนักงานที่กำลังจะเป็นหัวหน้า หรือ คนที่ได้ตำแหน่งหัวหน้าแล้ว ต่างก็ไปเข้าอบรมเพื่อให้ตนเองมีทักษะในการเป็นหัวหน้างานที่ดี แต่หลักสูตรส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยมีการให้คำแนะนำในเรื่องของการวางตัวกับลูกน้องเลย มีแต่เทคนิคในการบริหารจัดการลูกน้องในรูปแบบต่างๆ


วันนี้ก็เลยนำเอารูปแบบต่างๆ ของการวางตัวของหัวหน้ามาให้ดูกันว่า จริงๆ แล้วหัวหน้างานที่ดีนั้นควรจะวางตัวกับลูกน้องอย่างไรดี
  • วางตัวเป็นเจ้านายผู้สูงศักดิ์ การวางตัวของนายแบบแรกที่เจอส่วนใหญ่ก็คือ การวางตัวเป็นเจ้านายใหญ่โต ในลักษณะที่ลูกน้องเข้าถึงได้ไม่ยากนัก แต่จะมีพิธีรีตองในการเข้าถึงมากมาย กว่าจะถึงตัวก็ต้องผ่านด่านหลายด่าน เวลาที่คุยกับลูกน้องก็มักจะวางตัวว่าตนเองเป็นนาย มีช่องว่างมากมาย พยายามดึงตัวเองให้ออกห่างจากลูกน้องของตนเองให้มากที่สุด เรียกได้ว่าลูกน้องจะต้องเกรงใจ และถ้าเป็นไปได้อยากให้ลูกน้องเกิดความเกรงกลัวอยู่ตลอดเวลา
    bad bossss
  • วางตัวเป็นนายที่เข้าถึงได้ยาก บาง คนพอได้เป็นหัวหน้าก็เริ่มวางตัวออกห่างจากคนที่จะมาเป็นลูกน้องของตนเอง เวลาที่ลูกน้องจะเข้ามาหารือ หรือขอคำปรึกษา ก็ยากมาก เพราะมักจะทำตัวให้ยุ่งอยู่เสมอ ติดสายบ้าง ติดประชุมบ้าง ติดลูกค้าบ้าง (แต่จริงๆ ไม่ได้ติดอะไรมากมายขนาดนั้น) แต่ขอให้ต้องมีความลำบากในการเข้าพบเป็นใช้ได้ เพราะมิฉะนั้นจะดูเหมือนตนเองไม่มีความสำคัญอะไร
  • วางตัวเป็นพี่ที่มีประสบการณ์มากกว่า หัวหน้างานบางคนพอได้เป็นหัวหน้า ก็บอกกับลูกน้องของตนเองว่า จริงๆ แล้วเราอยู่ทีมเดียวกัน เราทำงานแบบพี่น้องกัน แม้ว่าจะมีตำแหน่งเป็นหัวหน้า แต่ก็เป็นแค่เพียงตำแหน่ง เท่านั้น หัวหน้าแบบนี้จะเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับลูกน้อง เวลาลูกน้องมีปัญหาในการทำงาน ก็มักจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา ชอบที่จะสอนงาน ให้คำแนะนำการทำงาน เพราะมองลูกน้องเป็นเหมือนน้องคนหนึ่ง หัวหน้าลักษณะนี้มักจะเป็นเหมือนผู้ใหญ่ใจดีที่คอยให้การสนับสนุนพนักงาน อยู่เสมอ
  • วางตัวเป็นเพื่อน หัว หน้างานบางคน ไม่ชอบที่จะวางตัวเป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย ก็เลยวางตัวกับลูกน้องเหมือนกับว่าเป็นเพื่อนร่วมงานมากกว่าที่จะเป็นนาย เวลาจะคุย หรือจะพูดอะไร ก็พยายามที่จะคุยเหมือนเป็นเพื่อนมากกว่า หัวหน้าแบบนี้มักจะชอบเล่น และทำตัวไม่แตกต่างจากทีมงาน
  • วางตัวเป็นมารร้าย หัว หน้าอีกกลุ่มหนึ่ง มีทัศนคติตรงข้ามแบบคนที่ชอบวางตัวเป็นเพื่อน ก็คือ คิดว่า เราจะต้องมีจุดที่ทำให้ลูกน้องกลัว จะต้องมีระยะห่างระหว่างตนกับลูกน้อง และที่สำคัญก็คือ ถ้าเราไปคลุกคลีกับลูกน้องมากๆ เข้าเดี๋ยวลูกน้องก็จะเหลิง และไม่สามารถที่จะควบคุมได้เลย ก็เลยต้องทำตัวโหดมากๆ กับลูกน้องแต่ละคน ทำให้ลูกน้องรู้สึกถึงความน่ากลัว เพื่อที่จะคุมลูกน้องให้อยู่หมัด
ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านคิดอย่างไรครับ หัวหน้างานที่ดีควรจะวางตัวกับลูกน้องของตนเองอย่างไร ในความเห็นผมนั้น แต่ละคนก็มีสไตล์ในการปฏิบัติตนกับลูกน้องที่แตกต่างกันออกไป ไม่มีใครเหมือนกันสักคน ก็เลยต้องไปถามคนที่เป็นลูกน้องว่า จริงๆ แล้วต้องการให้หัวหน้าวางตัวแบบไหนกับเรา

Happy business people laughing against white backgroundคำตอบที่ได้มาจากคนที่เป็นลูกน้องส่วนใหญ่ก็คือ ต้องการหัวหน้าที่มีความเป็นผู้ใหญ่ เข้าถึงได้ง่าย คุยกันด้วยเหตุผล และคุยด้วยแล้วรู้สึกสบายใจ ไม่ต้องเกร็ง หรือกลัวจนตัวสั่น
พอ ถามว่าเป็นแบบเพื่อนเลยดีมั้ย คำตอบของลูกน้องส่วนใหญ่บอกว่า มันคงเป็นเพื่อน แบบ เพื่อนจริงๆ คงยาก เพราะเอาเข้าจริงๆ หัวหน้าก็ไม่ใช่เพื่อนเราอยู่ดี ดังนั้นขอแค่เพียงความเป็นกันเอง พูดคุยเข้าถึงได้ง่าย ถึงเวลามีปัญหาก็สามารถช่วยกันแก้ไขได้ เวลาที่มีความสุข ก็หัวเราะด้วยกันได้ เมื่อไหร่ที่มีความทุกข์ก็ทุกข์ไปด้วยกัน อยู่ด้วยกันแบบพี่ๆ น้องๆ แบ่งเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวได้ดี แค่นี้ก็พอแล้ว

แล้วท่านผู้อ่านล่ะครับ วางตัวกับลูกน้องกันอย่างไรบ้าง เล่าสู่กันฟังได้นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น