ความคาดหวังของผู้จัดการ และหัวหน้างานทุกคนในองค์กรที่เกี่ยวกับการทำงานก็คือ อยากได้พนักงานที่สามารถที่จะทำงานได้เอง สามารถที่จะสร้างผลงานได้ตามเป้าหมายที่องค์กรต้องการ ยิ่งไปกว่านั้น ยังต้องการคนที่คุยกันรู้เรื่อง และไม่ก่อปัญหาต่าง ๆในการทำงาน
แต่ในชีวิตจริง พนักงานที่กล่าวมาข้างต้นนั้น อาจจะหาได้มาก หรือได้น้อย ก็แล้วแต่วิธีการสรรหาคัดเลือกพนักงานเข้ามาทำงานในองค์กร เมื่อพนักงานผ่านเข้ามาทำงานในองค์กรของเราแล้ว พนักงานเองก็คงต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับขององค์กร ต้องมีความตั้งใจในการทำงาน และมีความรับผิดชอบต่อผลงานของตนเองตามที่องค์กรได้มอบอหมายให้ทำ
ผมเชื่อว่าทุกองค์กรล้วนแล้วแต่พบกับปัญหาเกี่ยวกับพนักงานที่มักจะทำให้ท่าน เองในฐานะหัวหน้างานรู้สึกต้องสูญเสียพลังงานในการทำงานไปกับพนักงานบางคน ซึ่งเป็นความสูญเสียที่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมาเลยด้วยซ้ำไป พนักงานเหล่านี้มักจะแสดงพฤติกรรมอะไรบ้าง
- ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ปัจจุบันนี้การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในแทบจะทุกองค์กร ผู้บริหารระดับสูงที่มีหน้าที่ต้องบริหารจัดการองค์กร ก็ต้องคิดหาวิธีที่จะทำให้องค์กรมีผลงานที่ดีขึ้น และสามารถที่จะแข่งขันได้ และอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ซึ่งผลก็คือ องค์กรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็ต้องมีผลกระทบต่อตัวพนักงานอย่างแน่นอน โดยที่พนักงานบางคนกลับทำตัวต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่ผู้บริหารทุกคนเห็นชอบ แล้วว่าเป็นสิ่งที่จะต้องทำ แต่พนักงานคนนี้ก็มักจะไม่ค่อยสนใจ ยิ่งถ้าพนักงานคนนี้เป็นพนักงานในระดับบริหารที่มีอิทธิพลต่อพนักงานคนอื่น ด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ผู้บริหารขององค์กรต้องเสียเวลากับพนักงานคนนี้อย่างไร้ ประโยชน์ เรียกว่าเสียเวลากับการพยายามเปลี่ยนแปลงไม่พอ ยังต้องมานั่งเสียเวลากับพนักงานที่ไม่ยอมที่จะเปลี่ยนแปลงใดๆ และยังไปสร้างอิทธิพลต่อพนักงานคนอื่นให้ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย
- ทัศนคติที่ไม่ดี พนักงานบางคนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในองค์กร เวลาองค์กรจะทำอะไร หรือเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง ก็จะมีคำวิพากษ์วิจารณ์จากพนักงานคนนี้ ยิ่งไปกว่านั้นบางคนวิจารณ์อย่างเสียๆ หายๆ และทำตัวเป็นผู้รู้มากกว่า และที่ทำตัวอย่างนี้ก็เนื่องจากไม่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่จะ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตนเอง พนักงานกลุ่มนี้เอง ก็เป็นกลุ่มที่ดูดพลังของผู้บริหาร
แต่กลับต้องมา แบ่งพลังไปต่อสู้กับพนักงานที่ไม่เคยคิดจะมองประโยชน์ขององค์กรเลย มองแต่ประโยชน์ของตนเองอย่างเดียว ระบบงานอะไรที่เข้ามาแล้วมีผลต่อการทำงานของตนเอง ทำให้เกิดความยุ่งยาก และต้องปรับวิธีการทำงานมากมาย พนักงานกลุ่มนี้ก็จะทำหน้าที่ต่อต้าน คอยขัดแข้งขัดขาคนอื่นที่จะทำงานอยู่ตลอด จนบางองค์กรแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเกิดขึ้นเลย ก็เนื่องมาจากพนักงานกลุ่มนี้
แล้วเราควรจะทำอย่างไรดี ในแนวคิดบริหารทรัพยากรบุคคลในยุคใหม่นั้น จะเน้นไปที่ผลสำเร็จขององค์กรมากขึ้น กล่าวคือ บริหารคนไปในแนวทางเดียวกับวิสัยทัศน์ของบริษัท และการที่พนักงานบางคนทำตัวขวางไม่ให้วิสัยทัศน์ของบริษัทเกิดขึ้นได้จริง นั้น เขาก็มีวิธีการบริหารจัดการดังต่อไปนี้
- ไล่ออก บางองค์กรถึงกับไล่พนักงานที่มีปัญหานี้ออกจากองค์กรไปเลย เหตุผลก็คือ พนักงานคนนี้ไม่มีความเหมาะสม และไม่มีความพยายามที่จะสร้างผลงานที่ดี และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขององค์กรเลย วิธีการนี้ให้ใช้กับพนักงานที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้แล้ว อยู่ไปรังแต่จะสร้างความร้าวฉานให้เกิดขึ้นในองค์กร และยิ่งทำให้องค์กรไปสู่อนาคตได้ยากขึ้น ก็ไม่สมควรอยู่กับองค์กรนี้อีกต่อไป
- ใช้การประเมินผลงานเป็นเครื่องมือ อีก วิธีหนึ่งที่จะบริหารจัดการพนักงานที่มีพฤติกรรมแบบไม่พึงประสงค์ก็คือ การใช้ระบบประเมินผลงานประจำปี เพียงแต่ผู้จัดการและผู้บริหารจะต้องกล้าที่จะประเมินกันไปตามผลงาน และพฤติกรรมที่พนักงานคนนั้นแสดงออกมา ยิ่งแสดงออกว่าต่อต้าน หรือไม่ยอมทำอะไรที่ดีขึ้น ก็คงต้องให้มีผลต่อผลงานพนักงานในปีนั้นๆ ด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นไม้แข็งที่ทำให้พนักงานรู้ว่าถ้าไม่ทำ องค์กรจะมีมาตรการบางอย่างเข้ามาดำเนินการ
ผลก็คือ ผู้บริหารกลับเกรงใจ และเห็นความสำคัญของพนักงานกลุ่มนี้มากกว่าความสำคัญของเป้าหมายขององค์กร ก็เลยทำให้องค์กรไม่เติบโต ไม่ขยับเขยื้อนไปไหน ยิ่งไปกว่านั้น พนักงานกลุ่มนี้ก็จะเรียนรู้ว่า เขาสามารถทำให้ผู้บริหารมาฟังเขาด้วยวิธีที่ผิด
คราวนี้ถ้าเกิดกรณีที่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรอีก มันก็จะวนเข้าวงจรอุบาทว์แบบเดิมๆ อีกเช่นกัน
ดัง นั้นจงอย่าเสียพลังงานกับพนักงานกลุ่มนี้ให้มากนัก ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็คงต้องมีมาตรการในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้พนักงานคนนั้น รู้ว่าองค์กรเอาจริง
แต่ก็ยังแปลกใจที่ยังเห็นผู้บริหารบางแห่ง ยังชอบที่จะให้พนักงานดูดพลังไปโดยเปล่าประโยชน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น