เดือนมกราคม เป็นเดือนที่บริษัทส่วนใหญ่ในประเทศไทยทำการขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงาน ให้กับพนักงาน ซึ่งพอพูดถึงเรื่องการขึ้นเงินเดือนประจำปี ก็เป็นเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนคาดหวังทุกปี ว่าตนเองจะได้รับการขึ้นเงินเดือนสักเท่าไหร่ดี ซึ่งถ้ามองในมุมของบริษัท บริษัทเป็นคนให้เงินเดือนเพิ่มกับพนักงาน ซึ่งโดยหลักแล้ว พนักงานเองก็น่าจะมีความรู้สึกที่ดี เพราะตนเองได้รับการขึ้นเงินเดือน
แต่ในทางปฏิบัติจริง ผมเชื่อว่าบางองค์กร พอถึงช่วงเวลาขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงานทีไร พนักงานส่วนใหญ่ในองค์กรจะต้องรู้สึกไม่ดีกันมากมาย แทนที่จะรู้สึกดี เพราะได้รับเงินขึ้น แต่กลับรู้สึกแย่ ที่ได้รับการขึ้นเงินเดือน ซึ่งถ้าพนักงานส่วนใหญ่ หรือเกือบทุกคนในองค์กรของเรารู้สึกไม่ดีเมื่อได้รับการขึ้นเงินเดือน นั่นแสดงว่ามีสาเหตุมาจากสิ่งต่อไปนี้
- ขึ้นเงินเดือนไม่ได้เป็นไปตามผลงาน ถ้า ระบบการขึ้นเงินเดือนของบริษัทไม่ได้นำผลงานพนักงานมาพิจารณาอย่างจริง จัง โดยเงินที่ขึ้นนั้น เป็นไปตามความพึงพอใจของหัวหน้า หรือผู้จัดการเท่านั้น หรือขึ้นตามระบบอาวุโส ใครอยู่มานานกว่า ก็ได้ขึ้นมากกว่า แบบนี้ เงินเดือนนายจ้างใช้ ก็ไม่ได้ทำให้พนักงานรู้สึกถึงแรงจูงใจได้เลย
- เงินเดือนที่ได้รับไม่แตกต่างกันระหว่างผลงาน บางองค์กรมีการขึ้นเงินเดือนตามผลงานที่หัวหน้าประเมินมาตามเนื้อผ้าจริงๆ แต่อัตราความแตกต่างของการขึ้นเงินเดือนนั้นกลับไม่มีความแตกต่างกันมากพอ ที่จะจูงใจให้พนักงานรู้สึกถึงคุณค่าของผลงานที่ตนเองทำไป เช่น A ได้ขึ้น 6% B ได้ขึ้น 5.5% ส่วน C ได้ 5% D ได้ 4.5 และ E ซึ่งเป็นผลงานแย่สุดๆ ได้ขึ้น 4% ด้วยความต่างของเปอร์เซ็นต์การขึ้นเงินเดือนที่น้อยมาก ก็ทำให้พนักงานไม่รู้สึกถึงความหมายของการขึ้นเงินเดือนที่ได้รับ และยิ่งไปกว่านั้น ยังทำให้พนักงานที่มีผลงานดี รู้สึกไม่ดีกับการขึ้นเงินเดือนในครั้งนี้เลย เพราะทำงานเหนื่อยแทบตาย สร้างผลงานดีเลิศ แต่กลับได้รางวัลตอบแทนไม่แตกต่างกับคนที่ไม่มีผลงานอะไรเลย
- ให้ขึ้นเงินเดือนเท่ากันหมดทุกคน บางองค์กรคิดว่า การขึ้นเงินเดือนจะต้องมีความยุติธรรม และความยุติธรรมที่ว่านี้ก็คือ ทุกคนจะต้องได้เท่ากันทั้งหมด ก็เลยไม่สนใจผลงานเลย เอางบประมาณที่มีมาหารด้วยจำนวนพนักงานทั้งหมด และให้ทุกคนในองค์กรเท่ากันหมด นี่ก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้เงินงบประมาณที่เราใช้ในการขึ้นเงินเดือนนั้น พนักงานไม่ได้รู้สึกถึงคุณค่าของมันเลย
- ขึ้นเงินเดือนโดยไม่แบ่งกลุ่มพนักงานที่แตกต่างกัน ดัง นั้นพนักงานในระดับสูงๆ เช่นผู้จัดการหัวหน้างาน ก็จะได้ขึ้นเงินมากกว่าพนักงานระดับล่าง เพราะยังไงหัวหน้าก็ย่อมจะทำงานมากกว่า และดีกว่าลูกน้องของตนเอง พนักงานระดับล่างๆ ก็จะได้ขึ้นเงินเดือนแค่เพียงนิดเดียว เพราะผลงานยังไงก็สู้หัวหน้าไม่ได้อยู่แล้ว
- ไม่ได้รับคำอธิบายจากผู้จัดการ บาง องค์กรขึ้นเงินเดือนให้กับพนักงานโดยที่ไม่มีการบอกถึงเรื่องของผลงานว่า ทำไมถึงได้ขึ้นเท่านั้น เท่านี้ ได้แต่ทำเรื่องขึ้นเงินเดือนเสร็จแล้วก็จ่ายไปตามระบบ Payroll ของบริษัท พนักงานเองได้รับเงินเดือนใหม่แบบงงๆ และไม่รู้ว่าสาเหตุอะไรที่ทำให้ตนได้ขึ้นเงินเดือนเท่านั้นเท่านี้ ก็เลยทำให้รู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไหร่
จริงๆ แล้ว เรื่องของการขึ้นเงินเดือนนั้น ทางฝ่ายบุคคลอาจจะต้องมีการอธิบายให้พนักงานและผู้จัดการแต่ละคนในบริษัท เข้าใจอย่างชัดเจนว่าระบบของการประเมินผลงาน และการขึ้นเงินเดือนนั้นมันเชื่อมโยงกันอย่างไร มิฉะนั้นแล้ว พนักงานแต่ละคนก็จะคาดหวังว่าผลงานของตนเองจะต้องได้ A แล้วพอได้ A ก็จะได้รับการขึ้นเงินเดือนมากที่สุด
เมื่อพนักงานทุกคนคิดแบบนี้ โดยไม่หันกลับมามองระบบการขึ้นเงินเดือน ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกว่ามันผิดความคาดหวังของตนเอง ทั้งๆ ที่เป็นระบบปกติของบริษัท กล่าวคือ พนักงานบางบริษัทไม่รู้เลยว่างบประมาณการขึ้นเงินเดือนที่กำหนดไว้เฉลี่ยคือ 6% นั้นมันก็คือ ผลงานระดับดี ได้ 6%
แต่ถ้าทุกคนมองว่าผลงานระดับดี นี่แหละควรจะได้ A และ A ก็ต้องขึ้น 10% และทุกคนก็ควรจะได้ A เพราะผลงานพนักงานส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี คำถามก็คือ บริษัทจะเอาเงินมาจากไหน เพราะงบมีแค่ 6% แต่ทุกคนอยากได้ 10%
ดังนั้นถ้าจะให้เรื่องของการขึ้นเงินเดือนตามผลงานมีประสิทธิผลจริงๆ ก็ต้องไปแก้ไขกันตั้งแต่ระบบประเมินผลงาน และให้ผู้ประเมินทำความเข้าใจระบบให้ชัดเจนว่าผลงานแบบไหนได้อะไร เพื่อที่จะได้นำมาเชื่อมโยงกับระบบการขึ้นเงินเดือนได้อย่างเป็นธรรมมากที่ สุดนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น