วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

สิ่งที่ผู้จัดการส่วนใหญ่ลืม เกี่ยวกับการบริหารคน

super manager

เรื่องของการบริหารคนมักจะถูกมองว่าเป็นหน้าที่ของฝ่ายบุคคล ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน เปลี่ยนยุคเปลี่ยนสมัยไปสักแค่ไหนก็ตาม ก็ยังมีผู้จัดการสายงานที่คิดแบบเดียวกันแบบในอดีตก็คือ หน้าที่ในการบริหารคนนั้น เป็นหน้าที่ของฝ่ายบุคคล ไม่งั้นจะมีฝ่ายนี้ขึ้นมาทำไม นี่คือเหตุผลที่ผู้จัดการสายงานมักจะอ้างถึงเสมอเวลาที่มีคนพูดว่า หน้าที่ในการบริหารคนนั้นเป็นหน้าที่ของผู้จัดการสายงาน

ท่านผู้อ่านล่ะครับ เห็นอย่างไร


เหตุผล ที่เราบอกว่าหน้าที่ของการบริหารคนนั้นเป็นหน้าที่ของผู้จัดการสายงาน หรือหัวหน้างานโดยตรงนั้น ก็มีสาเหตุสำคัญมาจาก การที่หัวหน้างานโดยตรงนั้นจะต้องบริหารจัดการพนักงานที่ทำงานอยู่ด้วยกัน ทุกวัน ซึ่งเขาน่าจะเป็นคนเดียวที่รู้จักลูกน้องของตนเองที่ที่สุดว่า ใครเป็นอย่างไร พนักงานทำงานดีไม่ดีอย่างไร เก่งไม่เก่ง หรือต้องพัฒนาเรื่องอะไรนั้น คนที่น่าจะรู้ดีที่สุดก็คือ คนที่เป็นหัวหน้างานโดยตรง

ฝ่ายบุคคลแทบจะไม่รู้จักพนักงานในประเด็น เหล่านั้นเลย แต่ฝ่ายบุคคลจะทำหน้าที่ในเรื่องของระบบในการบริหารจัดการคนให้เป็นมาตรฐาน เดียวกัน และเป็นระบบที่ทุกคนใช้เหมือนกัน

สิ่งที่ผู้จัดการบางคนอาจ จะลืมไปบ้าง ก็คือ หน้าที่ที่สำคัญของการเป็นผู้จัดการก็คือ การบริหารจัดการการทำงานเพื่อให้ได้งานตามเป้าหมายที่กำหนด และผู้จัดการเองก็ไม่ได้ทำงานคนเดียว ผลงานของทีมจะมาจากพนักงานที่อยู่ภายในทีม ดังนั้นผู้จัดการจึงต้องบริหารพนักงานในทีมงานให้สามารถสร้างผลงานได้ตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้ พูดง่ายๆ ก็คือ ต้องทำงานผ่านคนอื่น เพื่อให้งานสำเร็จ ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้คำพูดที่ว่า “หน้าที่การบริหารคน คือหน้าที่ของผู้จัดการ” เป็นไปได้มากขึ้นไปอีก

นอกจากนี้ยังมีงาน วิจัยทางด้านความผูกพันของพนักงานกับองค์กร ที่พูดถึงความรู้สึกของพนักงาน กับผลงานในแง่มุมต่างๆ ที่ผมเห็นว่ามีประโยชน์ต่อคนที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ ก็เลยเอามาแบ่งปันให้อ่านกันครับ
  • เมื่อพนักงานมีความสุขในการทำงาน พนักงานจะสร้างผลงานที่ดี งานวิจัยมากมายได้พิสูจน์ให้เราเห็นว่า พนักงานที่ทำงานอย่างมีความสุขนั้น จะเป็นพนักงานที่สามารถสร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง สังเกตเอาเองยังได้เลยครับ ถ้าพนักงานคนไหนที่เขามาทำงานด้วยความสุข แม้จะเครียดแค่ไหน เขาก็จะมีวิธีการในการแก้ไขปัญหาในการทำงานไปได้ทุกครั้งไป และผลงานก็มักจะดีอย่างต่อเนื่องด้วย
  • พนักงานที่มีความสุข จะมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีกว่า อีก งานวิจัยหนึ่งก็คือ พนักงานที่มีความสุขในการทำงานจริงๆ จะเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ได้ดีกว่าพนักงานที่อมทุกข์ตลอดเวลา หรือพนักงานที่ไม่อยากทำงาน โดยส่วนตัวผมเอง ผมคิดว่าไม่ต้องวิจัยอะไรมาก ก็น่าจะพอเห็นอยู่ว่า มันไปด้วยกันจริงๆ
  • พนักงานที่มีความสุข จะทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดี อีก ประเด็นหนึ่งสำหรับพนักงานที่มีความสุขในการทำงาน ก็คือ เขาจะสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างานของตนเอง ก็จะสามารถพูดคุย และทำงานกันอย่างดี แม้ว่าในบางครั้งอาจจะมีปัญหาความขัดแย้งบ้าง แต่ก็สามารถแก้ไขปัญหากันไปได้
  • พนักงานที่มีความสุข จะมีแรงจูงใจในการทำงานในตัวเอง พนักงาน ที่มีความสุขในการทำงานนั้น จะมีพลัง และแรงจูงใจในการทำงานในตัวเองมากกว่าพนักงานที่ไม่มีความสุขในการทำงาน คนที่มีความสุขนั้น เขาจะมีแรงจูงใจในตนเอง เพื่อที่จะสร้างผลงานโดยที่ไม่ต้องให้ใครมากระตุ้นอะไรมากนัก
คำ ถามที่ตามมาก็คือ แล้วเป็นหน้าที่ของใครที่จะเป็นคนทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานแต่ละวัน ได้ คำตอบก็คือ คนที่อยู่ใกล้ชิดกับพนักงานมากที่สุดนั่นเอง ซึ่งก็คือ ผู้จัดการและหัวหน้างานโดยตรงของพนักงานคนนั้น

ถ้าเราในฐานะหัวหน้า งาน สามารถสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และทำให้พนักงานในทีมรู้สึกถึงความสุขในการทำงานได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะเกิดผลดีกับการทำงานของเรา และกับพนักงานมากขึ้นเท่านั้น และจริงๆ วิธีการทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานก็ไม่ใช่สิ่งที่ยากเลย แค่เพียงใส่ใจ พูดคุย สื่อสารกันทุกวัน ให้ความจริงใจ ทำงานดีก็ชมเชย ทำงานไม่ได้ก็หาทางพัฒนา ให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมกับความสำเร็จของทีมงานมากขึ้น แค่นี้พนักงานก็รู้สึกมีความสุขในการทำงานแล้วครับ แต่ประเด็นคือ จะทำได้หรือไม่ได้เท่านั้นเอง

แล้ววันนี้ท่านทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานแล้วหรือยังครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น