วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

อนาคตของบริษัท กับการบริหารค่าตอบแทน

สวัสดี ปีใหม่ 2557 นะครับ วันนี้ก็คงยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ได้เริ่มงาน และอีกหลายคนที่เริ่มงานกันแล้ว ผมเองก็เริ่มทำงานเหมือนกันในวันนี้ ก็เลยเริ่มต้นบทความกันใหม่ในปี 2557 นี้ครับ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหน้าตาของ blog ไปบ้างเพื่อต้อนรับปีใหม่กันสักเล็กน้อยครับ แต่เนื้อหาทุกอย่างยังอยู่ครบครับ ติดตามกันได้ต่อไปครับ


วันนี้ผมก็จะมาต่อในเรื่องของอนาคตของบริษัทกับการบริหารทรัพยากรบุคคลว่ามันมีผล ต่อกันอย่างไรบ้าง ในช่วงก่อนปีใหม่ผมได้เขียนไว้ 2 ตอน ก็คือ อนาคตของบริษัทกับการสรรหาคัดเลือกพนักงาน กับ อนาคตของบริษัทกับการพัฒนาพนักงาน วันนี้ก็เลยจะมาต่อในเรื่องของ อนาคตของบริษัทกับการบริหารค่าตอบแทนพนักงาน เพื่อให้จบใน series นี้นะครับ

เรื่องของการบริหารค่าตอบแทนนั้นเป็นเรื่องที่มีมุมมองหลากหลายมากระหว่างผู้ บริหารด้วยกันเอง และระหว่างผู้ประกอบการกับพนักงานที่จ้างเข้ามาทำงาน ลองมาดูมุมมองที่แตกต่างกันตรงนี้ว่ามีอย่างไรกันบ้าง
  • มองเรื่องของค่าตอบแทนเป็นต้นทุน ซึ่งเมื่อไหร่ถ้ามองเรื่องนี้เป็นต้นทุนเมื่อไหร่ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ผู้บริหารเองก็จะพยายามหาแนวทางในการลดต้นทุนลงให้ได้ เพื่อให้ตัวเลขผลประกอบการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลที่ตามมาก็คือ ผู้บริหารก็จะพยายามไม่ขยับค่าตอบแทนให้สูงขึ้น เพราะกลัวว่าต้นทุนจะสูงขึ้น และจะพยายามจะกดเรื่องของค่าตอบแทนพนักงานให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • มองเรื่องของค่าตอบแทนว่าเป็นการลงทุน ซึ่ง เมื่อไหร่ถ้าผู้บริหารมองว่าค่าตอบแทนก็คือเรื่องของการลงทุนกับพนักงาน สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ ผู้บริหารก็จะไม่พยายามที่จะกดราคา หรือกดอัตราค่าตอบแทนพนักงานให้ต่ำที่สุด แต่จะหาวิธีการที่จะทำให้ค่าตอบแทนที่จ่ายให้กับพนักงานไปนั้น เป็นสิ่งที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง พนักงานคนไหนที่มีความเก่งและมีศักยภาพสูง ก็ยินดีที่จะลงทุนให้สูงหน่อย เพราะคาดว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนก็น่าจะออกมาดี
ส่วนในมุมของพนักงานเองที่เข้ามาสมัครงานกับบริษัทนั้น ถ้าเขาคิดว่าตนเองมีฝีมือ มีศักยภาพสูงพอ ส่วนใหญ่พนักงานเองก็จะเรียกค่าตัวที่สูงกว่าคนอื่นเช่นกัน

พอมาเชื่อมโยงกับอนาคตของบริษัทที่เขียนไว้ในวิสัยทัศน์ การที่บริษัทจะบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่เขียนไว้นั้น บริษัทต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลทีมีคุณภาพ มีศักยภาพมากพอที่จะทำให้บริษัทไปได้ตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ และถ้าองค์กรต้องการคนเก่งเข้ามาทำงานในองค์กร เรื่องของค่าตอบแทนก็ต้องตามมา เพราะคนเก่งยอมเรียกค่าตัวที่สูงอยู่แล้ว ดังนั้นถ้าเราอยากจะได้พนักงานที่มีคุณภาพสูงให้เข้ามาทำงานในบริษัท และทำให้วิสัยทัศน์ของบริษัทเกิดขึ้นได้จริง บริษัทก็ต้องมีระบบในการบริหารค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับอนาคตที่บริษัทกำลัง จะไปเช่นกัน

แนวทางที่บริษัทต้องดำเนินการเพื่อให้ระบบค่าตอบแทนของบริษัทตอบโจทย์อนาคตของบริษัทได้มีดังต่อไปนี้
  • พิจารณาวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ต้องการไปให้ถึงนั้น ว่า บริษัทจะต้องมีกลยุทธ์อะไรบ้าง
  • และ การที่จะทำให้แผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้นั้นบรรลุเป้าหมายได้ เราจะต้องใช้ทรัพยากรบุคคลแบบใด มีตำแหน่งอะไรที่เป็นตำแหน่งหลักขององค์กร คุณสมบัติของคนที่เราต้องการเป็นอย่างไร และที่สำคัญก็คือ เราต้องแข่งขันในการว่าจ้างคนเหล่านี้กับบริษัทใดบ้าง
  • ศึกษา ค่าตอบแทนในตลาดของกลุ่มธุรกิจที่เราแข่งขันในการว่าจ้างคนแบบเดียวกันนั้น ว่าอัตราค่าตอบแทนที่ให้นั้น อยู่ในระดับใด อย่างไร และมีประเภทของค่าตอบแทนอะไรบ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถหาได้จากผลการสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการของตลาด
  • กำหนด แนวทางในการจ่ายค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของบริษัท และสามารถแข่งขันได้กับบริษัทที่แข่งขันในการว่าจ้างคนแบบเดียวกับเรา โดยกำหนดเป็นอัตราแรกจ้าง กำหนดเป็นโครงสร้างเงินเดือนที่เหมาะสม และจากนั้นก็บริหารค่าตอบแทนให้เหมาะสม และเป็นธรรมต่อไป
เรื่องของค่าตอบแทนที่บริษัทจะกำหนดให้กับพนักงานนั้น มีส่วนอย่างมากต่ออนาคตของบริษัท ถ้าองค์กรมองอย่างเดียวว่า ทำยังไงก็ได้ให้หาคนมาทำงานให้ได้ โดยไม่สนใจว่าคุณสมบัติเป็นอย่างไร เอาให้จ้างได้ก็เพียงพอแล้ว โดยกำหนดอัตราค่าจ้างให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะจ่ายได้ และพอที่จะมีคนมาทำงานด้วย ผลก็คือ บริษัทจะหาพนักงานเข้ามาทำงานได้ยากมาก เพราะอัตราที่จ่ายนั้นไม่ได้ใกล้เคียงกับตลาดเลย ผู้สมัครที่มีคุณภาพเองก็คงไม่อยากมาทำงานด้วยเพราะเขาสามารถเลือกบริษัทที่ จ่ายได้สูงกว่านี้ และถ้าหาพนักงานที่มีคุณภาพไม่ได้ แล้ววิสัยทัศน์ของบริษัทจะบรรลุได้อย่างไร

จริงมั้ยครับ

8 ความคิดเห็น:

  1. อยากได้ ตัวอย่างการทำกระบอกเงินเดือน เพราะที่บริษัทยังไม่มีทำเลย ปัญหาค่อนข้างเยอะกับการจ้างงาน พนักงานลาออก เพราะรายได้สู้คู่แข่งไม่ได้ อยากทำกระบอกเงินเดือนเสนอนาย แต่ไม่รู้จะเริ่มทำอย่างไร ช่วยแนะนำหน่อยคะ ขอบคุณมากๆคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ลอง search หาบทความเกี่ยวกับการวางระบบค่าตอบแทนที่ผมเขียนไว้ใน blog ดูนะครับ จริงๆ ผมมีอีก blog ที่มีบทความเรื่องค่าตอบแทนเยอะกว่าในนี้ ก็คือ ที่ http://prakal.wordpress.com ครับ

      หรือผมขออีเมล์ไว้ได้มั้ยครับ จะได้ส่งรายละเอียดมาให้ตามอีเมล์ครับ

      ขอบคุณมากครับ

      ลบ
  2. ขอบคุณคะ นัจทิ้ง อีเมล์ไว้ให้นะคะ รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณมากๆเลยคะ nutyawa1@gmail.com

    ตอบลบ
  3. จัดทำข้อบังคับการทำงาน แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะถูกต้อง และใช้ได้หรือเปล่า จะขัดกับกฏหมายแรงงานหรือไม่ อยากให้อาจารย์ช่วยดูให้จะได้มั้ยคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ส่งมาให้ผมดูก็ได้ครับ จะช่วยดูให้ครับ แต่อาจจะต้องใช้เวลาหน่อยนะครับ เพราะช่วงนี้ผมติดลูกค้าทุกวันเลยครับผม ส่งมาที่อีเมล์ผมได้ครับ prakal.bmc@gmail.com ครับผม ขอบคุณมากครับ

      ลบ
  4. เรียนสอบถามเรื่องของ กฏระเบียบข้อบังคับการทำงาน ที่เคยส่งให้ไม่ทราบว่าพอมีเวลาดูให้หรือยังเหรอคะ ^-_^-

    ตอบลบ
  5. สอบถามหน่อยคะ จะตีกันตายในออฟฟิสละอ่ะคะ เหอะๆๆ
    เรื่องมีอยู่ว่า การทำนวนเงินเดือนหนะคะ ที่บริษัทนัจทำงานจันทร์-ศุกร์คะ แต่เวลาทำงานคือ 8.30-19.00คะ และเวลาคิดเงินเดือน ก็ไม่มีปัญหาหรอกคะ แต่เวลาพนักงานขาดงานนี่สิ ยุ่งๆๆๆๆ น้องเงินเดือน17000บาท หารด้วย 30 เท่ากับวันละ 566.67 หารด้วย 8ชั่วโมงเท่ากับ 70.84 ต่อชั่วโมง นำ70.84 มาคูณด้วยเวลาทำงานจริง คือ8.30-19.00หักพักแล้ว เหลือ 9.5ชั๋วโมงต่อวัน บริษัทก็นำ 70.84คูณกับ9.5 (ชํ่วโมง) ถูกต้องไช่มั้ยคะ ใครพอจะทราบบ้างว่าที่ทำอยู่ตอนนี้ถูกแล้ว เพราะมีพนักงานมาถามว่า ทำไมหารด้วย8ชั่วโมง แต่คูณด้วย9.5ชั่วโมง เลยทำให้สับสนอ่ะคะ แต่ด้วยที่ว่าเรา ทำงาน จันทร์-ศุกร์ โดยเฉลี่ยแล้วก็อยู่ใน 48ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตามกฎหมายแรงงานนะคะ

    ตอบลบ