จากที่เคยเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องของการเตรียมความพร้อมให้กับพนักงานก่อน ที่จะดำเนินการเลื่อนตำแหน่ง ก็ได้มีผู้อ่านสอบถามกันมาผ่านทางอีเมล์โดยมีคำถามที่มีนัยคล้ายๆ กันก็คือ ถ้าเราเลื่อนตำแหน่งพนักงานขึ้นไปแล้ว โดยที่ไม่มีการเตรียมความพร้อมเลย เราควรจะทำอย่างไรดี
ก่อนอื่นเราคงต้องมาพิจารณากันในเรื่องของการเลื่อนตำแหน่งสักหน่อย ว่าในทางปฏิบัติแล้วมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้างสำหรับบรรดาผู้จัดการที่ต้องการ จะเลื่อนตำแหน่งให้กับลูกน้องของตนเองโดยไม่ดูหน้าดูหลังให้ดีก่อน
- ผู้จัดการชอบเลื่อนตำแหน่งให้ลูกน้องโดยที่ยังไม่รู้ว่าพร้อมหรือเปล่า ลักษณะก็คือ พนักงานคนไหนที่เป็นที่ชื่นชอบ ผลงานดีหน่อย ใช้งานได้ง่ายหน่อย ก็จะได้รับการเสนอชื่อเพื่อเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น โดยมีข้ออ้างว่า ถ้าไม่เลื่อนให้ พนักงานคนนี้ก็จะลาออก และไปอยู่ที่อื่น ซึ่งองค์กรก็จะสูญเสียพนักงานที่มีฝีมือไป ซึ่งถ้าเป็นไปตามเหตุผลที่ผู้จัดการคนนั้นว่ามาจริงๆ มันก็ดีนะครับ เพียงแต่ในบางกรณี ผู้จัดการเลื่อนตำแหน่งให้โดยที่ไม่มีการพิจารณาเรื่องของความพร้อมของ พนักงานคนนั้นเลย แค่เพียงต้องการที่จะสร้างบารมี และสร้างบุญคุณให้กับพนักงานคนนั้นมากกว่า
- เสนอเลื่อนตำแหน่งโดยไม่พิจารณาเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่ง กรณี นี้เกิดขึ้นกับหลายบริษัทเหมือนกัน กล่าวคือ ผู้จัดการคนนั้นอยากจะเสนอเลื่อนตำแหน่งให้พนักงานคนไหน ก็เสนอชื่อเลย โดยไม่พิจารณากฎเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งของบริษัทที่วางไว้เลย โดยอ้างว่า พนักงานพร้อมแล้ว แต่กฎเกณฑ์ของบริษัทที่กำหนดไว้นั้น มันไม่ทันสมัย และใช้ไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้จัดการบางคนใช้ทางลัดโดยการข้ามขั้นไปคุยกับ CEO เลยว่าต้องการจะเลื่อนตำแหน่งให้พนักงานคนนั้น ถ้า CEO ที่ดี ก็ต้องยึดกฎเกณฑ์ในการเลื่อนตำแหน่งของบริษัทที่กำหนดไว้ โดยไม่มีการปล่อยให้เลื่อนตำแหน่งไปได้โดยที่ฝ่ากฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพราะถ้าทำเช่นนั้นปัญหาอื่นๆ ก็จะตามมาอีกเป็นขบวน แต่เชื่อหรือไม่ว่า มีเหตุการณ์ที่ CEO ก็ยินยอมอนุมัติให้เลื่อนตำแหน่ง โดยกระทำการฝ่ากฎเกณฑ์ต่างๆ ของบริษัทที่กำหนดไว้
- มองการเลื่อนตำแหน่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกปี ผู้ จัดการหลายคนเข้าใจผิดมาก ว่า การเลื่อนตำแหน่งนั้น สามารถเลื่อนได้ทุกปี ถ้าพนักงานคนใด ไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งในปีใด แสดงว่าพนักงานคนนั้นเหมือนถูกลงโทษ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดอย่างมาก การเลื่อนตำแหน่งนั้น จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะตำแหน่งงานในองค์กรเรามีอยู่จำนวนไม่มาก โดยเฉพาะตำแหน่งทางด้านการบริหารจัดการ ก็จะมีตามผังองค์กรที่ออกแบบไว้เท่านั้น ถ้าผู้จัดการคนเดิม ไม่เกษียณ ลาออก หรือ ตาย พนักงานก็ไม่สามารถที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งขยับขึ้นมาได้เลย เพราะไม่มีตำแหน่งให้เลื่อน แต่บางองค์กรกลับสร้างตำแหน่งขึ้นมามากมายเพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสได้ เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเรื่อยๆ ที่หนักกว่านั้นก็คือ เลื่อนไปแล้ว แต่หน้าที่และความรับผิดชอบยังคงเหมือนเดิมทุกประการ แต่องค์กรต้องจ่ายค่าจ้างเงินเดือนที่สูงขึ้น แต่กลับไม่ได้มูลค่าเพิ่มจากพนักงานที่เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเลยแม้แต่นิด เดียว
- กำหนดเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาพนักงานในการเลื่อนตำแหน่ง เกณฑ์การพิจารณาส่วนใหญ่ก็จะมี 3 ด้าน ก็คือ ผลงาน (Performance) สมรรถนะ (Competency) และ ศักยภาพ (Potential) ประเด็นที่สำคัญมากก็น่าจะเป็นเรื่องของ ศักยภาพ โดยดูว่าพนักงานคนนั้นมีความสามารถเพียงพอที่จะรับงานที่ยากขึ้นถ้าได้รับ การเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปได้หรือไม่ เกณฑ์เหล่านี้ จะต้องมีการกำหนดอย่างชัดเจน ว่าผลงานจะต้องเป็นอย่างไร ความสามารถที่จะต้องมีก่อนที่จะเลื่อน จะต้องแสดงอะไรให้เห็นบ้าง เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจได้ว่า เลื่อนขึ้นไปแล้ว จะไม่มีปัญหาตามมา
- กำหนดวิธีการพิสูจน์ว่าพนักงานถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ วิธี การเหล่านี้ก็ต้องออกแบบให้สอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ข้างต้น เช่น ถ้ามีเกณฑ์เรื่องของความรู้ ก็ต้องมีการให้ทดสอบความรู้บางอย่าง ว่ามีความเข้าใจหรือไม่ หรือถ้าเป็นเกณฑ์เรื่องของทักษะต่างๆ ก็อาจจะต้องมีการลองมอบหมายงานบางอย่างก่อน เพื่อเป็นการพัฒนา และพิสูจน์ว่า พนักงานคนนั้นพร้อมที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งหรือไม่ หรือถ้าจะเป็นการพิจารณาศักยภาพ ก็อาจจะต้องดูความคิดสร้างสรรค์ และแนวทางในการวางแผนงานในอนาคตว่าเป็นอย่างไร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้องค์กรจะต้องกำหนดให้ชัดเจน ว่าพนักงานที่ถูกเสนอให้เลื่อนตำแหน่งนั้นจะต้องทำอะไรบ้าง และต้องผ่านเกณฑ์อะไรบ้าง ถึงจะได้รับการอนุมัติให้เลื่อนตำแหน่งได้
ไม่ว่าจะเป็นการส่งไปฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นหัวหน้างานที่ดี การมอบหมายงานใหม่ๆ การเป็นพี่เลี้ยง หรือการสอนงานโดยหัวหน้า ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีการที่ต้องทำทั้งสิ้น เพื่อให้อย่างน้อย พนักงานที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาแล้ว จะได้พอมีแนวทางในการทำงานในฐานะที่เขาเป็นหัวหน้างานมือใหม่ เพื่อให้งานออกมาสำเร็จตามเป้าหมายที่องค์กรคาดหวังไว้
ดีกว่าปล่อย ให้เขาเคว้งคว้าง และไม่รู้ทิศทาง ว่าจะต้องทำอะไร อย่างไร และทำไม ในตำแหน่งใหม่ที่เขาได้มา ผมว่าถ้าเป็นอย่างที่ว่านี้จริงๆ การเลื่อนตำแหน่งครั้งนั้น จะเป็นการลงโทษพนักงาน และยังทำให้องค์กรไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
Lose Lose กันทั้งคู่ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น