เรื่องของการพัฒนาพนักงานในองค์กรเป็นอีกเรื่องที่ทุกบริษัทพยายามจะทำ เพื่อให้พนักงานของตนเองได้มีความรู้ความสามารถที่ดีขึ้น และพร้อมที่จะรับผิดชอบงานที่ยากขึ้นในอนาคตได้ แต่เคยลองวิเคราะห์ดูหรือไม่ครับว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนพัฒนาพนักงานขององค์กรเรานั้น สร้างผลลัพธ์ได้อย่างที่เราต้องการหรือไม่
เท่าที่ผมเห็นมีองค์กรอยู่ 3 ประเภทที่พยายามจะวางแผนพัฒนาคน แต่ผลจะออกมาดีหรือไม่ดี ก็คงต้องอยู่ที่แนวทางในการบริหารการพัฒนาคนที่กำหนดไว้ด้วยเช่นกัน
- องค์กรที่มีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาคนอย่างชัดเจน องค์กรลักษณะนี้จะมีการวางแผนการพัฒนาพนักงานกันอย่างเป็นระบบ มีการฝึกให้ผู้จัดการสามารถวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของพนักงานแต่ละคนได้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้จัดการต้องวางแผนการพัฒนาพนักงานของตนเองอยู่เสมอ โดยที่ฝ่ายบุคคลเป็นหน่วยงานที่คอยวางระบบ และให้คำปรึกษาในการหาแนวทางการพัฒนาพนักงานที่นอกเหนือจากการฝึกอมเพียง อย่างเดียว และวิทยากรจากภายนอกเพื่อเข้ามาพัฒนาพนักงาน
- องค์กรที่มีแต่ระบบฝึกอบรมพนักงานเพียงอย่างเดียว องค์กร แบบนี้จะมีการส่งพนักงานเข้ารับการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยที่ HR เป็นคนกำหนดแนวทาง และหลักสูตรฝึกอบรมให้ ส่วนผู้จัดการฝ่ายต่างๆ นั้น แทบจะไม่ได้ทำหน้าที่พัฒนาพนักงานของตนเองเลย ทำหน้าที่แค่เพียงยอมให้พนักงานของตนออกไปอบรมตามที่ฝ่ายบุคคลแจ้งมา
- องค์กรแบบที่ไม่มีแผนการพัฒนาคนเลย องค์กร ลักษณะนี้ไม่เคยคิดที่จะส่งพนักงานไปพัฒนา หรือเข้ารับการฝึกอบรมอะไรใดๆ ที่ไหนเลย มีแต่คิดแค่เพียงว่า การฝึกอบรมเป็นเรื่องเสียเวลาทำมาหากิน เวลาที่ HR พยายามที่จะหาหลักสูตรต่างๆ เพื่อเข้ามาพัฒนาพนักงานอย่างน้อยให้มีการพัฒนาบ้างก็ยังดี แต่กลับถูกผู้จัดการต่างๆ มองว่า เป็นอะไรที่เสียเวลา และเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่ยอมให้พนักงานของตนมาร่วมรับการฝึกอบรมใดๆ เลย
- มีระบบประเมินผลงานที่ชัดเจน และสามารถบอกเราได้ว่า พนักงานแต่ละคนนั้นมีผลงานที่ดี และไม่ดีอย่างไร มีอะไรที่ต้องพัฒนาบ้าง เพื่อให้ผลงานในปีถัดไปดีขึ้น รวมทั้งต้องพิจารณาว่า ถ้าจะให้พนักงานรับผิดชอบงานที่ซับซ้อนขึ้นได้นั้น จะต้องเสริมความรู้ และทักษะอะไรบ้าง ประเด็นเหล่านี้ ถ้าองค์กรมีระบบการประเมินผลงานที่ดี และมีผู้จัดการที่สามารถประเมินผลงานพนักงานได้อย่างตรงไปตรงมา และเน้นไปที่การพัฒนาคน เราจะได้สิ่งที่ต้องพัฒนาของพนักงานแต่ละคนออกมาอย่างชัดเจน ผิดกับระบบประเมินผลงานที่เน้นไปทางด้านการให้รางวัล ประเมินเพื่อไปขึ้นเงินเดือน หรือ ให้โบนัส จากนั้นก็ไม่เคยเอาข้อมูลอะไรในการประเมินผลงานมาใช้ต่อ ยิ่งไปกว่านั้น บางองค์กรยังไม่มีข้อมูลเหล่านี้ด้วยซ้ำไป เพราะหัวหน้าทำหน้าที่แค่ติ๊กเครื่องหมายลงในช่องว่างของแบบฟอร์มประเมินผล งานเท่านั้นเอง
- มีการวิเคราะห์งานของตำแหน่งงานต่างๆ อย่างเป็นระบบ ถ้า เราจะพัฒนาพนักงานอย่างเป็นระบบได้นั้น เราจะต้องมีการวิเคราะห์งานของตำแหน่งงานต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อดูว่า ตำแหน่งงานเหล่านั้น ถ้าจะสร้างผลงานที่ดีได้นั้น จะต้องมีความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมอย่างไร และอะไรบ้าง
- มีผู้จัดการที่มีทัศคติที่ดีต่อการพัฒนาพนักงาน กล่าว คือผู้จัดการจะต้องมองการพัฒนาพนักงานเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาผลงานของ องค์กรอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน และส่งเสริมให้พนักงานของตนเองได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านจุดแข็ง และจุดอ่อน
ผิดกับบางองค์กรที่สร้าง ระบบ Competency ขึ้นมาอย่างมากมาย หลายตัว มีความสลับซับซ้อน และดูดีจากภายนอก แต่ไม่เข้าใจเหตุผลที่แท้จริงของระบบ พอบริหารจริงๆ กลับกลายเป็นว่า ระบบที่วางไว้นั้น ไม่สามารถที่จะใช้ในการพัฒนาได้อย่างที่ตั้งใจไว้เลย เพราะมันยุ่งยาก เข้าใจยาก และทำให้ผู้จัดการแต่ละระดับรู้สึกว่า เป็นภาระมากมายเกินไป อีกทั้ง เมื่อมี Competency แล้ว ก็ยังคงขาด 3 ข้อข้างต้นไม่ได้อยู่ดี เพราะระบบ Competency ที่ดีนั้น ต้องวิเคราะห์ไปพร้อมกับผลงานพนักงาน ต้องพิจารณาตำแหน่งงาน และต้องอาศัยผู้จัดการที่เข้าใจระบบอย่างดีเช่นกันครับ
ผมคิดว่า ทำระบบที่ง่ายๆ แต่ใช้งานได้จริงจะดีกว่านะครับ เพื่อสุดท้ายแล้ว พนักงานของเราได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง มากกว่าแค่ดูดี มีระบบ แต่พนักงานกลับไม่ได้รับการพัฒนาที่ถูกต้องเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น