วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

Career Path กับประเด็นที่มักเข้าใจผิดพลาด

เรื่อง ของเส้นทางความก้าวหน้าทางสายอาชีพ หรือที่เราเรียกกันว่า Career Path นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่อยู่ในความสนใจของแต่ละองค์กร ทุกองค์กรพยายามจะสร้างเส้นทางสายอาชีพเหล่านี้ขึ้น เพื่อให้พนักงานมองเห็นเส้นทางความก้าวหน้าของตนเองในการทำงานกับบริษัท


แต่อย่างไรก็ดี เรื่องของ Career Path นั้นยังคงมีคนเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง จนนำเอาไปใช้แบบไม่ค่อยถูกต้องนัก และส่งผลให้การบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัทมีปัญหาตามมาอย่างมากมาย ประเด็นที่ยังเข้าใจไม่ถูกต้องก็คือ
  • Career Path ต้องเติบโตไปในสายบังคับบัญชาเท่านั้น ยังมีหลายองค์กรมากที่เข้าใจว่าเส้นทางการเติบโตของพนักงานนั้น คือการที่ทำให้พนักงานเติบโตไปตามสายการบังคับบัญชา ถึงเวลาก็ให้ตำแหน่งที่สูงขึ้น เช่น จากพนักงานก็ต้องโตไปเป็น Assist Sup และโตต่อไปเป็น Sup จากนั้นก็ไปเป็น Assist Manager แล้วก็เป็น Manager จากนั้นก็ไปเป็น Director ตามลำดับ ประเด็นที่ว่าไม่ค่อยถูกต้องก็คือ ตำแหน่งเหล่านี้จริงๆ แล้วจะต้องมีตามโครงสร้างขององค์กร แต่ในทางปฏิบัติองค์กรที่เชื่อแนวคิดนี้ ก็จะสร้างตำแหน่งขึ้นมาเรื่อยๆ จนทั้งองค์กรไม่มีตำแหน่งพนักงานก็มีนะครับ มีแต่ตำแหน่งหัวหน้ากันทั้งองค์กรกันเลยทีเดียว
  • เมื่อทำงานครบ 3 ปี หรือ 5 ปีต้องได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ใน กรณีนี้ก็เช่นกัน เป็นสิ่งที่หลายองค์กรสร้างขึ้นมาด้วยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน โดยเฉพาะเหล่าบรรดาผู้จัดการทั้งหลายที่มักจะคิดว่า เมื่อลูกน้องของตนเองทำงานครบ 3 ปีแล้ว หรือ ครบ 5 ปีแล้วก็จะต้องได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจว่างานจะยากขึ้นหรือเปล่า และไม่สนใจด้วยว่า องค์กรจะมีโครงสร้างตำแหน่งเหล่านี้หรือเปล่า บรรดาผู้จัดการมักจะใช้เหตุผลว่า ถ้าไม่มีการเลื่อนตำแหน่งให้กับพนักงาน ก็กลัวว่าเขาจะออกไปอยู่ทื่อื่น ผมคิดว่าถ้าจูงใจด้วยเหตุผลนี้ อีกไม่นานพนักงานทุกคนในองค์กรก็จะมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการกันหมดทุก คนแน่นอน
  • ทุกตำแหน่งสามารถมี Career ได้หมด ใน การสร้างระบบความก้าวหน้าทางสายอาชีพในบางองค์กรมองว่าทุกตำแหน่งสามารถที่ จะเติบโตไปได้หมด ซึ่งจริงๆ แล้วตำแหน่งที่สามารถออกแบบความก้าวหน้าทางสายอาชีพได้นั้น ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งงานหลักขององค์กรทั้งสิ้น ตำแหน่งในเชิงสนับสนุน มักจะกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าสายอาชีพได้ยาก หรือไม่สามารถทำได้เลยก็มี เช่น ตำแหน่งพนักงานขับรถ ถ้าทำงานในองค์กรทั่วไป อาชีพนี้จะโตไปไหนได้บ้าง ก็จะออกแบบยาก หรือตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด พิมพ์ไปนานๆ แล้วจะโตไปไหนได้บ้าง โดยทั่วไปตำแหน่งงานเหล่านี้จะสร้างความก้าวหน้าทางสายอาชีพไม่ได้ บางท่านอาจจะถามว่า แล้วคนที่ทำงานตำแหน่งเหล่านี้ก็ไม่สามารถเติบโตได้น่ะสิ คำตอบก็คือโตได้ครับ แต่ต้องย้ายไปโตในตำแหน่งงานที่เป็นตำแหน่งงานหลักขององค์กร ผมเคยเห็นผู้จัดการขายเขตของบางบริษัทโตมาจากตำแหน่งพนักงานขับรถ โดยเขาให้เหตุผลว่า เป็นพนักงานขับรถโตไปไหนไม่ได้ ถ้าอยากโตก็ต้องเปลี่ยนตำแหน่งใหม่เป็นตำแหน่งงานหลักขององค์กรก็จะเติบโตไป ได้อย่างต่อเนื่อง
  • มองแค่จำนวนปีทำงานเป็นในการเติบโต บาง องค์กรใช้เหตุผลในการเลื่อนระดับความก้าวหน้าทางสายอาชีพ โดยใช้จำนวนปีทำงานเป็นหลัก ก็คือ ทำงานครบเท่านี้ปี ก็จะได้รับการเลื่อนให้โดยอัตโนมัติ แต่ในหลักการแล้ว การเติบโตและความก้าวหน้าทางสายอาชีพนั้น นอกจากจำนวนปีในการทำงานแล้วสิ่งที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติมก็คือ ผลงานย้อนหลังที่ผ่านมา และอีกปัจจัยหนึ่งก็คือ ทักษะและความสามารถที่เพิ่มขึ้น และความพร้อมที่จะรับผิดชอบงานที่สูงขึ้น
จาก ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเหล่านี้ ก็เลยทำให้องค์กรต้องเสียค่าจ้างเงินเดือนที่สูงขึ้นให้กับพนักงานโดย พนักงานยังคงทำงานแบบเดิมๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการทำงาน มีแต่เปลี่ยนชื่อตำแหน่งที่สูงขึ้น และได้รับเงินเดือนมากขึ้นตามชื่อตำแหน่ง

การสร้าง Career Path นั้นจะต้องทำให้องค์กรได้รับประโยชน์จากการเติบโตของพนักงานด้วย การที่พนักงานสามารถดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น แปลว่าเขาจะต้องมีความรับผิดชอบที่สูงขึ้น และมีศักยภาพในการทำงานที่มากขึ้น พร้อมที่จะรับงานที่ยากขึ้นตามลำดับ และองค์กรเองก็จ่ายค่าตอบแทนตามความยากที่มากขึ้น

แบบนี้จึงจะเรียกกว่า win ทั้งพนักงาน และ win ทั้งองค์กร องค์กรโต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น