ผู้บริหารและเจ้าของกิจการทางธุรกิจต่างก็อยากให้พนักงานของตนทำงานอย่างมีความ รู้สึกถึงความเป็นเจ้าขององค์กร เพราะการที่พนักงานรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของงาน หรือเจ้าขององค์กร ก็จะทำให้พนักงานทำงานอย่างทุ่มเท และมีความรับผิดชอบต่องานอย่างเต็มที่ แต่ในทางปฏิบัติจะมีพนักงานสักกี่คนในองค์กรที่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ องค์กรจริงๆ
ในปัจจุบันนี้คำว่ารู้สึกถึงความเป็นเจ้าของนั้น เริ่มเปลี่ยนไปใช้คำอื่นมากขึ้น ก็คือ คำว่า ผูกพันกับองค์กร หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Engagement นั่นเอง เอาเข้าจริงๆ แล้วลึกๆ ก็มีความหมายในนัยคล้ายๆ กันมาก เพราะพนักงานที่มี Engagement ก็จะมีความรัก ความทุ่มเทการทำงานให้กับองค์กรราวกับว่า เขาเป็นเจ้าขององค์กรนั้นเองเช่นกัน
แต่ผมเองโดยส่วนตัวแล้วกลับชอบคำ ว่า รู้สึกเป็นเจ้าของ มากกว่าเพราะมันตรงดี และเห็นภาพ เข้าใจนัยของความหมายของคำมากกว่าคำว่า ความผูกพัน ซึ่งอาจจะถูกตีความแตกต่างกันไปมากมายได้ และเป็นคำที่อาจจะเป็นแฟชั่นแป๊ปๆ แล้วอาจจะมีการเปลี่ยนคำใหม่อีก
อย่างไรก็ดี ลักษณะของพนักงานที่ทำงานอย่างรู้สึกว่าเป็นเจ้าขององค์กรนั้น มีลักษณะอย่างไร
- มีความรับผิดชอบสูงมาก เรียกได้ว่าสูงเกินกว่าที่องค์กรมอบหมายให้ทำด้วยซ้ำไป บางครั้งงานที่ได้รับมอบหมายมีขอบเขตแค่เพียง 1 – 5 แต่พนักงานคนนี้จะทำงานลึกกว่าที่มอบหมาย รวมทั้งยังช่วยดูแล และเสนอแนะงานอื่นที่อยู่นอกขอบเขตความรับผิดชอบของตนเองอีก ด้วยเหตุผลแค่เพียงว่าเขารู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่เขาต้องทำในฐานะที่เขาทำ งานให้กับบริษัท
- ให้ความร่วมมือในงาน หรือกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท พนักงาน ที่รู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของบริษัท จะมีความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในการทำงานขององค์กร เวลาที่มีคนมาขอความร่วมมือ แม้จะไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง แต่ก็จะให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นอย่างดี ดีไม่ดียังให้ความร่วมมือมากกว่าที่ขอไปอีกก็เป็นได้
- มีความรับผิดชอบในตนเอง พนักงาน ที่รู้สึกเป็นเจ้าของนั้นจะมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสูง ได้รับงานมาแล้ว จะไม่เคยทิ้งงานเลย มีแต่จะทำให้งานนั้นเกิดขึ้นอย่างดี และเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ อีกทั้งเจ้านายแทบจะไม่ต้องควบคุมดูแลอะไรเลยด้วยซ้ำไป ไม่ต้องตาม ไม่ต้องจ้ำจี้จ้ำไชแม้แต่นิดเดียว
- เวลาบริษัทมีปัญหาจะเข้ามาช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เวลา ที่บริษัทประสบกับปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงิน หรือเรื่องอื่นๆ ก็ตาม พนักงานกลุ่มนี้จะเข้ามาช่วยเหลืออย่างเต็มที่ บางแห่งบริษัทประสบอุบัติเหตุขึ้น พนักงานกลุ่มนี้จะพยายามเข้ามาช่วยแก้ไขเหตุการณ์ต่างๆ ให้กลับมาราบรื่นตามเดิม บางบริษัทประสบภาวะขาดทุน พนักงานกลุ่มนี้จะพยายามช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่ และบางครั้งยังยอมที่จะไม่รับเงินเดือนในบางช่วงเวลา เพื่อให้บริษัทกลับมาสู่สภาพเดิมได้โดยเร็วที่สุด
จริงๆ แล้วพนักงานที่รู้สึกแบบนี้ก็ไม่ได้ผิดนะครับ เพียงแต่องค์กรอาจจะไม่ค่อยชอบนัก เพราะทำแค่เพียงที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ถ้าองค์กรของเรามีพนักงานที่ไม่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของเลย ผมว่าอัตราการเติบโตขององค์กรคงจะถดถอยไปเรื่อยๆ
ในทางตรงกันข้าม องค์กรที่มีพนักงานที่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าขององค์กรมากหน่อย องค์กรจะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เพราะพนักงานกลุ่มนี้จะเป็นคนผลักดัน และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น ไม่ทำงานด้วยความเคยชินแบบเดิมๆ แต่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้องค์กรสามารถอยู่รอด และเจริญเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน
แล้ววิธีการในการทำให้พนักงานรู้สึก ถึงความเป็นเจ้าของนั้น เราจะทำได้อย่างไร เพราะหลายๆ คนมองว่าเป็นเรื่องยากมาก ที่จะทำให้คนๆ หนึ่ง ที่ไม่ใช่เจ้าของธุรกิจ มารู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของธุรกิจนั้นได้ แต่ในทางปฏิบัติก็มีหลายองค์กรที่สามารถทำได้จริงๆ ซึ่งก็สามารถสรุปแนวทางได้ดังนี้ครับ
- ให้พนักงานได้มองเห็นภาพเป้าหมายขององค์กรอย่างชัดเจน คือเข้ามาทำงานแล้วไม่ใช่แค่มองแค่งานตนเองในแต่ละวันเท่านั้น แต่จะต้องทำให้พนักงานมองเห็นภาพว่าองค์กรของเรามีเป้าหมายอย่างไร และโตต่อไปอย่างไรบ้าง วิสัยทัศน์เป็นอย่างไร
- เชื่อมโยงงานของพนักงานกับเป้าหมายขององค์กร ก็ คือการทำให้พนักงานเข้าใจว่างานของตนเองนั้นไปมีส่วนทำให้องค์กรบรรลุเป้า หมายได้อย่างไร ทำให้เขารู้สึกถึงความสำคัญของงานที่เขาทำ โดยการบอกพนักงานให้ทราบว่า ถ้าขาดงานที่เขาทำแล้วองค์กรจะต้องขาดอะไรไปบ้าง
- ให้พนักงานได้เห็นความคืบหน้าของธุรกิจ การ ที่จะทำให้พนักงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าของได้นั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ จะต้องมีการแจ้งความคืบหน้าของธุรกิจเทียบกับเป้าหมายให้พนักงานทราบเป็น ระยะๆ โดยแจ้งให้ชัดเจนว่า ที่องค์ไปได้ขนาดนี้ก็เนื่องจากงานในส่วนไหนที่พนักงานทำบ้าง ทำให้เขาเห็นภาพความเชื่อมโยงในความสำเร็จขององค์กรกับงานที่เขาทำ
- ให้ความชื่นชม และตระหนักในความสำคัญของพนักงาน องค์กร จะต้องสร้างกลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มผู้จัดการที่มีความสามารถในการบริหารคน โดยเน้นไปที่การให้กำลังใจ และการทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ การให้คำชมอย่างจริงใจ การให้ CEO ลงมาสัมผัสกับพนักงานบ้าง พูดคุยกับพนักงานอย่างเป็นกันเอง รวมทั้งชื่นชมผลงานของพนักงานด้วยความจริงใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็คือ เรื่องของการมีภาวะผู้นำที่ดีนั่นเองครับ
- ระบบบริหารงาน และบริหารคนที่มีความเป็นธรรม องค์กร จะซื้อใจพนักงานได้ ก็ต้องมีความจริงใจต่อพนักงานเช่นกัน ดังนั้นระบบการบริหารงาน และบริหารคนจะต้องมีความจริงใจ และเป็นธรรม ไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อพนักงานที่แตกต่างกัน
แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีบางองค์กรที่ พยายามใช้ค่าตอบแทนในรูปของตัวเงินมาสร้างความรู้สึกของการเป็นเจ้าของ ซึ่งเอาเข้าจริงๆ ก็สร้างได้ในระยะสั้นๆ เท่านั้น ถ้าเงินไม่มีพนักงานก็คงหมดความเป็นเจ้าของเหมือนกัน
แล้วองค์กรของท่านล่ะครับ พนักงานส่วนใหญ่รู้สึกเป็นเจ้าขององค์กรหรือไม่ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น