ได้รับคำถามมาจากท่านผู้อ่านเยอะเหมือนกันว่า การบริหารค่าจ้างเงินเดือนในปี 2555 หลังจากที่มีการปรับอัตราแรกจ้างใหม่แล้วจะเป็นอย่างไร มีผลกระทบต่อเรื่องการบริหารค่าจ้างเงินเดือนอย่างไรบ้าง จะได้ไปเตรียมการและวางแผนในการบริหารค่าจ้างเงินเดือนของบริษัทต่อไป
การ ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2555 นี้ เป็นการปรับครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเลยทีเดียวครับ เพราะปรับขึ้นจากปีที่ผ่านมาถึง 40% ทีเดียว ซึ่งเป็นอัตราที่สูงเอาการเหมือนกัน เมื่อเทียบกับหลายๆ ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลทำให้นายจ้างหลายแห่ง เริ่มมีปัญหาในการบริหารค่าจ้างเงินเดือน และยิ่งไปกว่านั้น ต้องมีการวางระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลกันใหม่เลยทีเดียว เพราะเนื่องจากต้นทุนด้านค่าจ้างสูงขึ้นมาก
แต่ในแง่ของการบริหารค่า จ้างเงินเดือนในปีนี้ แนวโน้มจะเป็นอย่างไรบ้าง จะมีการปรับกันไปถึงไหนกันบ้าง เท่าที่ได้พูดคุยกับลูกค้าหลายๆ บริษัท ก็สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ครับ
- ปรับค่าจ้างคนงานให้เท่ากับ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเรื่องนี้ก็น่าจะเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกบริษัทจะต้องดำเนินการ ซึ่งก็จะทำให้อัตราค่าจ้างของพนักงานระดับล่างเพิ่มสูงขึ้นในทันที ยิ่งไปกว่านั้น เราจะต้องปรับผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นอีกด้วย พนักงานคนไหนที่ได้รับค่าจ้างที่สูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่อยู่แล้ว ก็ต้องได้รับการปรับผลกระทบไล่ขึ้นไปเช่นกัน
- ปรับอัตราแรก จ้างของพนักงานระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรีใหม่ นี่ก็เป็นผลกระทบที่ตามมาจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ซึ่งทำให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อเดือนกลายเป็น 9,000 บาท ซึ่งส่งผลกระทบต่ออัตราแรกจ้างพนักงานตามวุฒิการศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เลยครับ ผลก็คือ บรรดาเด็กจบใหม่ไม่ว่าจะอยู่ในวุฒิไหนก็ตาม จะมีแนวโน้มที่ได้รับเงินเดือนในอัตราที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
- เมื่อ รับพนักงานใหม่ตามวุฒิการศึกษาเข้ามาทำงานในอัตราแรกจ้างใหม่ ก็อย่าลืมปรับพนักงานเก่าที่เพิ่งรับเข้ามาด้วยนะครับ เพื่อที่จะไม่ทำให้พนักงานใหม่มีเงินเดือนสูงกว่าพนักงานเก่าที่ทำงานมาก ก่อนแล้ว
- บางบริษัทบอกว่าจะมีการปรับค่าจ้างให้กับระดับ บังคับบัญชา และระดับบริหารด้วย โดยให้เป็นอัตราเดียวทุกคนในแต่ละระดับงาน เพื่อสะท้อนค่าครองชีพที่สูงขึ้นไปอีก
- มีการปรับปรุงโครงสร้างเงินเดือนใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ที่เกิดขึ้น
- มี การปรับรูปแบบการจ่ายค่าจ้างใหม่เพื่อให้สะดวกกว่าเดิม โดยการลดลักษณะของรูปแบบค่าจ้างลง และจับไปรวมเข้ากับเงินเดือน เพื่อให้ฐานเงินเดือนสูงขึ้นกว่าเดิมทั้งนี้ก็เพื่อให้การปรับอัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำที่เกิดขึ้นนั้น บริษัทไม่ต้องใช้งบประมาณที่สูงเกินความจำเป็น
เงินเดือนของ ระดับอื่นๆ มีการปรับขึ้นมากน้อยเพียงใดหลังจากที่มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ อัตราแรกจ้างตามวุฒิการศึกษา ปรับกันเป็นเท่าไหร่กันบ้าง รูปแบบค่าจ้างที่เคยมีอยู่นั้น เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เราจะต้องไปหาคำตอบจากรายงานผลการสำรวจค่าจ้าง ซึ่งผมพยายามจะแนะนำว่า ควรจะเข้าร่วมเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะได้เอาข้อมูลตลาดมาปรับปรุงระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือนของ บริษัทเราเองให้ทัดเทียม และแข่งขันได้ เพื่อดึงดูดและรักษาทรัพยากรบุคคลขององค์กรไว้ให้ดีที่สุดนั่นเองครับ
เรา คงไม่สามารถที่จะหลับตาบริหารค่าจ้าง หรือเดาเอาเองว่า จะต้องปรับเท่านั้นหรือเท่านี้ เพราะมันก็เป็นเพียงการคาดเดาเท่านั้น สิ่งที่สำคัญก็คือข้อมูลค่าจ้างเงินเดือนมากกว่า เพื่อทำให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ในปีนี้ นั่นเองครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น