โดยทั่วไปหัวข้อที่มักจะปรากฏใน KPI Dictionary ก็จะมีดังต่อไปนี้ครับ
- KPI Name ก็คือ ชื่อของ KPI ที่เราจะเอามาใช้ เป็นชื่อเรียกในการที่เราจะใช้วัด และประเมินผลงาน เช่น ยอดขาย ต้นทุนการขาย กำไร หรืออาจจะเป็นตัววัดที่ใช้กันเป็นสากล เช่น EBITDA หรือ EBT ฯลฯ
- Definition ก็คือ คำนิยาม ของ KPI ตัวนั้นๆ ว่า มีความหมายอย่างไร และมีวัตถุประสงค์ในการวัดประเมินอย่างไร กำหนดขึ้นมาเพื่อที่จะดูผลงานในด้านไหน เป็นต้น
- Unit of Measure ซึ่ง ก็คือ หน่วยวัด ซึ่งต้องระบุให้ชัดเจนว่า KPI ตัวนี้ ใช้หน่วยวัดเป็นอะไร เช่น บาท หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือเป็น อัตราส่วนต่ออะไร หรือเป็นหน่วยน้ำหนัก ฯลฯ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะงาน และลักษณะของข้อมูลที่เหมาะสมกับการวัด KPI ตัวนั้นๆ หน่วยวัดเหล่านี้ บางครั้งเราอาจจะเห็นว่า แต่ละองค์กรมี KPI ชื่อเดียวกัน แต่หน่วยวัดคนละตัว ซึ่งก็เป็นไปได้ อันนี้แล้วแต่ว่าองค์กรใดต้องการจะวัดมุมไหนของผลงาน และหน่วยวัดแบบไหนที่เหมาะสมที่สุดกับงานขององค์กร ซึ่งแต่ละแห่งก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
- Formula ก็คือ สูตรในการคำนวณ KPI ตัวนี้ ซึ่งในบางหน่วยวัดนั้น จำเป็นที่จะต้องมีสูตรในการคำนวณเพื่อให้เห็นภาพของที่มาของข้อมูลที่ชัดเจน มากขึ้น โดยเฉพาะหน่วยวัดที่เป็น เปอร์เซ็นต์ จะต้องระบุวิธีการคำนวณให้ชัดเจนว่า คำนวณอย่างไร มีที่มาอย่างไรเพื่อที่เวลาประเมินผล หรือเวลาดูความคืบหน้าของผลงานจะได้คำนวณได้ถูกต้อง
- Data and Source ก็คือ ข้อมูลที่จะต้องนำมาใช้ และแหล่งที่มาของข้อมูลว่ามาจากไหน หัวข้อนี้ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะเป็นสิ่งที่บอกเราได้ว่า ในการเก็บข้อมูลผลงานใน KPI ตัวนี้ จะต้องไปเอาข้อมูลจากที่ไหน แหล่งใด และข้อมูลนั้นๆ มีการ update ทุกๆ กี่วัน กี่เดือน
- Owner ก็คือ ตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบ KPI ตัวนี้ นั่นเองครับ
พร้อมกันนี้ผมได้ทำ format ตัวอย่างมาให้ เผื่อว่าจะเอาไปปรับใช้กันเองได้นะครับ ก็โหลดเอาได้เลยครับ
KPI Dictionary Format
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น