ผมเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลกับแผนธุรกิจขององค์กรมาสอง วัน ก็มีคำถามมาจากท่านผู้อ่านสองสามท่าน ถามมาเหมือนกันเลยว่า “จริงๆ แล้วฝ่ายบุคคลนั้นสามารถช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้จริงๆ หรือ? ที่ถามมาแบบนั้นเนื่องจากว่าที่บริษัทเอง ไม่เห็นฝ่ายบุคคลจะทำอะไรเลย ส่วนใหญ่จะเป็นงานเอกสาร งาน admin ทั่วๆไป แล้วแบบนี้จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้จริงๆ หรือ”
โดย ทั่วไปแล้ว HR ของแต่ละองค์กรก็มีความแตกต่างกันออกไป จากประสบการณ์ในการทำงานที่ปรึกษาของผม ก็เคยเจอฝ่ายบุคคลมาแล้วหลายแบบ พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้
- ฝ่ายบุคคลที่ทำงานเอกสารอย่างเดียว บางบริษัทมีฝ่ายบุคคลขึ้นมาเพื่อที่จะทำงานธุรการทั่วไปมากกว่างานบุคคล จริงๆ ยิ่งไปกว่านั้น CEO ของบริษัทเหล่านี้ ก็ไม่เคยที่จะสนใจ และใส่ใจงานทางด้านการบริหารบุคคลเลย ส่วนใหญ่ก็คิดวางแผนไปในทางการสร้างผลกำไร การหารายได้มากกว่า จนลืมมองว่า จริงๆ แล้วคนก็เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จขององค์กรเช่นกัน
- ฝ่ายบุคคลในระยะเริ่มต้น ฝ่ายบุคคลขององค์กรกลุ่มนี้ จะเป็นฝ่ายบุคคลที่กำลังเริ่มต้นแนวทางการบริหารบุคคลที่ถูกต้อง มักจะเป็นบริษัทที่เริ่มมองเห็นความสำคัญของคน และเริ่มรับผู้จัดการฝ่ายบุคคลมือดีๆ เข้ามาร่วมงาน โดยคิดว่าจะต้องวางระบบทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ดีขึ้น ซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วงที่ยากมาก ถ้าเราไม่สามารถหลุดช่วงเริ่มต้นนี้ไปได้ และผู้บริหารก็ไม่ค่อยสนับสนุนด้วยแล้ว สุดท้ายพลังของผู้จัดการฝ่ายบุคคลที่ไฟแรงๆ ก็จะเริ่มมอด และจะกลับไปเป็นฝ่ายบุคคลในข้อแรกเหมือนเก่า
- ฝ่ายบุคคลที่ทำหน้าที่ฝ่ายบุคคลจริงๆ ฝ่าย บุคคลของบริษัทกลุ่มนี้จะเป็นฝ่ายบุคคลที่ทำหน้าที่ฝ่ายบุคคลจริงๆ เริ่มมีแผนในการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ชัดเจนมากขึ้น เริ่มตอบโจทย์ของหน่วยงานต่างๆ ในเรื่องของความต้องการเรื่องคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสรรหาคัดเลือก การพัฒนาพนักงาน การบริหารค่าตอบแทน การประเมินผลงาน ฯลฯ เป็นช่วงที่เริ่มมีระบบการบริหารบุคคลที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ พนักงานและผู้จัดการเริ่มเห็นความสำคัญเรื่องคนมากขึ้น แต่อาจจะยังไม่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร
- ฝ่ายบุคคลที่เป็น Strategic Partner ฝ่าย บุคคลขององค์กรกลุ่มนี้จะเป็นฝ่ายบุคคลที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการวางแผน กลยุทธ์ขององค์กร เรียกได้ว่าเวลาที่มีการประชุมเพื่อที่จะวางแผนงาน และแผนกลยุทธ์ในปีถัดๆ ไป CEO จะต้องเอาผู้จัดการฝ่ายบุคคลเข้ามาร่วมหารือด้วยเสมอ เพื่อที่จะให้ทุกคนมองเห็นแผนการบริหารคนที่สอดคล้องกับแผนธุรกิจจริงๆ ยิ่งไปกว่านั้นฝ่ายบุคคลในกลุ่มนี้ มักจะเป็น Change Agent ขององค์กรด้วย กล่าวคือ จะเป็นหน่วยงานที่พยายามหาเครื่องมือใหม่ๆ ในการบริหารคนเข้ามาใช้พัฒนากระบวนการในการบริหารจัดการ และพัฒนาพนักงานของบริษัทให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
ในทางตรง กันข้าม ถ้าผู้บริหารทุกคนในองค์กรเชื่อว่าทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ในการทำธุรกิจ ก็จะให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และจะพยายามคิดในเรื่องของการบริหารคนอย่างจริงจัง โดยเอาเป้าหมาย แผนงาน กลยุทธ์ของธุรกิจเป็นตัวตั้ง แล้วก็ถามตัวเองตลอดว่า ถ้าแผนธุรกิจเป็นแบบนี้ แผนคนจะต้องเป็นอย่างไร ที่จะช่วยเกื้อหนุนให้แผนธุรกิจสำเร็จได้ ดังนั้นองค์กรที่ HR เข้ามามีส่วนในการสร้างความสำเร็จของธุรกิจได้จริงๆ จะคิดในมุมต่อไปนี้คือ
- จะต้องมีแผนกำลังคนอย่างไรทั้งระยะสั้น และระยะยาว คนของเรามีอัตราการลาออกอย่างไร จะต้องหาทดแทนเท่าไหร่ หาใหม่เท่าไหร่ และมีกี่คนที่จะเกษียณ และจะมีผลอะไรต่อแผนธุรกิจหรือไม่ ถ้ามี จะต้องวางแผนกำลังคนอย่างไร ที่จะทำให้ธุรกิจไม่ชะงักได้ ผลก็คือออกมาเป็นแผนกำลังคน
- จะต้องหาคนอย่างไรที่ให้ได้คนที่เหมาะสมกับองค์กรจริงๆ ไม่ ใช่แค่เพียงทำหน้าที่หาคนเข้ามาอย่างเดียว แต่ต้องช่วยคัดกรองคนที่เหมาะสมกับธุรกิจของเราจริงๆ เพราะถ้าเราได้คนไม่เหมาะ จะมีผลต่อแผนธุรกิจขององค์กรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย ดังนั้นองค์กรที่ให้ความสำคัญเรื่องคน จะต้องมีวิธีการที่รัดกุมมากๆ ในการสรรหาคัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน ไม่ใช่แบบสักแต่ว่าหาเข้ามาเพื่อให้ได้คนเท่านั้น แต่ต้องได้คนที่มีคุณภาพด้วยเช่นกัน นี่คือจุดที่ท้าทายของงาน HR อีกเรื่องหนึ่ง
- พัฒนาคนอย่างไรให้ส่งเสริมแผนธุรกิจในอนาคตได้ เรื่อง ของการพัฒนาคนก็เช่นกัน HR ขององค์กรที่ให้ความสำคัญในเรื่องคน จะมีการวางแผนการพัฒนาคนอย่างชัดเจน รัดกุม และสอดคล้องกับแผนธุรกิจขององค์กร ไม่ใช่แค่เพียงเป็นคนจัดฝึกอบรม และคอยดูแลเรื่องงานเอกสารเท่านั้น แต่จะวางแผนเพื่อให้คนเติบโตไปกับองค์กร และให้มีความพร้อมที่จะสร้างผลงานให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมรับงานที่ยากขึ้นทุกๆ ปี รวมถึงแนวทางในการบริหารผลงาน และการเติบโตตามสายอาชีพ ก็จะต้องมีความชัดเจน เพื่อที่จะได้มีการวางแผนการพัฒนาพนักงานได้อย่างต่อเนื่อง และพนักงานเองก็จะรู้สึกว่าทำงานที่นี่เติบโตอย่างแน่นอน
- บริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการที่แข่งขันได้ องค์กร ที่ให้ความสำคัญในเรื่องคน จะมองเรื่องของค่าตอบแทนว่าเป็นเงินลงทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย เพราะถ้าเป็นการลงทุน นั่นแปลว่า เราจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุน และถ้าองค์กรของเราต้องการคนเก่ง คนดี และเหมาะสม อีกทั้งยังต้องเป็นคนที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องด้วยแล้ว คนกลุ่มนี้ค่าตัวเริ่มแพงขึ้น เพราะมีความต้องการจากหลายๆ องค์กร และถ้าองค์กรของเราไม่ลงทุนในเรื่องค่าตอบแทนที่สามารถแข่งขันได้ เราก็จะไม่มีทางได้คนที่มีคุณภาพเข้ามาทำงานได้เลย หรือไม่ก็หายากมากๆ เพราะไม่มีใครเลือกเรา เนื่องจากค่าตอบแทนแข่งขันไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น