วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ผลการสำรวจอัตราการขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงานปี 2558

salary ceiling

เริ่มเข้าสู่ปลายปี องค์กรต่างๆ เริ่มมีการประเมินผลงานพนักงาน และเริ่มมีการสรุปผลงานของพนักงาน เพื่อที่จะนำไปใช้ในการขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงาน สิ่งที่ HR จะต้องดำเนินการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ก็คือ การรวบรวมข้อมูลเพื่อของอนุมัติตัวเลขเปอร์เซ็นต์การขึ้นเงินเดือนประจำปี ว่าควรจะขึ้นกันสักเท่าไหร่ดี


ผลการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนประจำปี 2557-2558 ของ 2 สำนักที่ผมช่วยดูแลอยู่นั้น ก็คือ ของบริษัท การจัดการธุรกิจ จำกัด (BMC) และของ สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) ต่างก็สรุปผลออกมากันเรียบร้อย ซึ่งผมจะนำผลการสำรวจนี้มานำเสนอให้เห็นกันว่าเป็นอย่างไรบ้าง
โดยปกติแล้วการคาดการณ์ว่าอัตราการขึ้นเงินเดือนควรจะเป็นเท่าไหร่นั้น ผมจะใช้ตัวเลขอยู่ 3 ตัวก็คือ
  • อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งปกติก็คือตัวเลข GDP Growth ว่าเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาสักเท่าไหร่ ซึ่งจากผลการวิเคราะห์จากหลากหลายสำนักวิจัยทางเศรษฐกิจนั้น ผลที่เขาคาดการณ์กันก็คือ เศรษฐกิจไทยปีนี้จะโตขึ้นอยู่ในช่วง 5 – 2% ซึ่ง แปลว่าเศรษฐกิจไทยโตน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งแปลง่ายๆ ว่า บริษัทต่างๆ ก็เติบโตเฉลี่ยลดลงเช่นกัน นั่นก็คือ ผลประกอบการส่วนใหญ่ไม่ค่อยดีนัก ซึ่งอาจจะมีผลมาจากเรื่องของการเมืองที่ไม่นิ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ตัว เลขตัวนี้เป็นตัวเลขที่บอกถึงอัตราค่าครองชีพของคนไทยว่า ในปีที่ผ่านมานั้นสินค้าแพงขึ้นสักกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจากผลการคาดการของสำนักต่างๆ ก็ออกมาว่า ตัวเลขอัตราดัชนีราคาผู้บริโภคปลายปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วประมาณ 2% เท่านั้น ซึ่งแปลง่ายๆว่า ของไม่ได้แพงขึ้นมากมายนัก
  • อัตราการขึ้นเงินเดือนของปีที่ผ่านๆ มา จาก ผลการสำรวจค่าจ้างเงินเดือนของ 3 ปีย้อนหลัง คือ 2555 2556 และ 2557 จะเห็นได้ว่า อัตราการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยเป็นตัวเลขดังนี้ 67 6.10 และ 6.49 ตามลำดับ (จากผลการสำรวจของ BMC) เมื่อเราเอาตัวเลขทั้ง 3 ตัวนี้มาเข้าตารางวิเคราะห์จะได้ดังตารางข้างล่างนี้

จากตัวเลขในตารางข้างต้นนั้น จะเห็นว่าจะมีตัวเลขอีกตัวหนึ่งก็คือ Real Merit ซึ่งตัวเลขนี้ก็คือผลจากการเอาอัตรา CPI ตั้ง แล้วก็ลบด้วยอัตราการขึ้นเงินเดือนของปีนั้นๆ ส่วนต่างที่ได้ก็คือ เปอร์เซ็นต์การขึ้นเงินเดือนตามผลงานจริงๆ ที่ซึ่งตัดเอาค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นออกไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งวิธีการที่ผมประมาณการตัวเลข Real Merit ของปี 2558 ที่ควรจะเป็นก็คือ เอา Real Merit 3 ปีย้อนหลังมาหาค่าเฉลี่ย ซึ่งผลก็ออกมาได้เท่ากับ 3.5% (ตัวเลขนี้ต้องพิจารณาจากผลงานของบริษัทเพิ่มเติมด้วยนะครับว่า ผลงานภาพรวมดีขึ้นสักแค่ไหน อาจจะมีการปรับตัวเลข Real Merit ขึ้นหรือลงได้ ตามผลงานของบริษัทเช่นกัน)

ในกรณีนี้ Real Merit ออกมาประมาณ 3.5% และตัวเลข CPI ที่ประมาณการออกมาก็คือ 2.1% ดังนั้น อัตราการขึ้นเงินเดือนที่ควรจะเป็นตามตัวเลขในตารางนี้ก็คือ 5.6% นั่นเองครับ

เมื่อได้ตัวเลข 5.6% ออกมาแล้วก็ต้องมาพิจารณาจากความสามารถในการจ่ายของบริษัทเราเองด้วยเช่นกัน ว่าผลประกอบการของบริษัทในปีนี้เป็นอย่างไร บริษัทสามารถที่จะรับต้นทุนทางพนักงานที่จะสูงขึ้นอีก 5.6% ในปีหน้าได้สักแค่ไหน

ถ้าพิจารณาจากตัวเลข GDP ที่เรียกได้ว่าเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำมากๆ แปลง่ายๆ ว่านายจ้างอาจจะไม่ได้มีผลประกอบการที่ดีนักเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาทางด้านการเมืองเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ก็อาจจะส่งผลให้นายจ้างมีเงินรายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่มาก ซึ่งอาจจะทำให้ความสามารถในการจ่ายอาจจะไม่ถึง 5.6% ก็เป็นได้

อย่างไรก็ดี ตัวเลขทั้งหมดที่ผมนำเสนอนี้ เป็นเพียงตัวเลขที่พยากรณ์ขึ้นจากองค์ประกอบต่างๆ นอกจากผมแล้วยังมีอีกหลายสำนักที่จะมีการพยากรณ์ตัวเลขการขึ้นเงินเดือนออก มาให้เราเห็นกัน ดังนั้น สิ่งที่ HR ทุกท่านควรจะต้องระลึกไว้ก็คือ ไม่ควรจะเชื่อตัวเลขเหล่านี้ในทันที แล้วเอาไปใช้ขออนุมัติในองค์กรของเรา ควรจะพิจารณาปัจจัยอีก 2 ประการเพิ่มขึ้นด้วย ก็คือ
  • อัตราเงินเดือนเฉลี่ยของบริษัทเทียบกับตลาด ถ้าเราเทียบแล้วปรากฏว่า อัตราเงินเดือนเฉลี่ยของบริษัทเราเมื่อเทียบกับตลาดแล้ว ของเราต่ำกว่าตลาดอยู่ ก็แปลว่าอัตราการขึ้นเงินเดือนของเราก็ต้องมากกว่า 6% เพราะถ้าเราขึ้นเท่ากับตลาด ก็แปลว่าอัตราเงินเดือนเฉลี่ยของเราก็ยังคงต่ำกว่าตลาดอยู่ตลอด ในทางตรงกันข้ามถ้าบริษัทเรามีอัตราเงินเดือนที่สูงกว่าตลาดอยู่แล้ว เราก็อาจจะพิจารณาอัตราการขึ้นเงินเดือนที่ 5.6% หรือมากกว่าได้
  • ความสามารถในการจ่ายของบริษัท ประเด็นสุดท้ายที่ HR จะต้องช่วยทางผู้บริหารพิจารณาก็คือ บริษัทของเรานั้นพอที่จะมีความสามารถในการจ่ายสักแค่ไหน ผลประกอบการของปีนี้ และแนวโน้มของปีหน้าเป็นอย่างไร เพราะการขยับขึ้น 6% แปลว่า บริษัทจะต้องมีต้นทุนทางด้านเงินเดือนพนักงานเพิ่มขึ้นอีก 5.6% โดยประมาณ และผลประกอบการปีหน้าจะโตสักเท่าไหร่ ปัจจัยนี้ก็จะเป็นตัวกำหนดว่า เราจะเชื่อและทำตามตัวเลข 5.6% ได้สักแค่ไหน
บทความนี้น่าจะพอช่วยให้ท่านผู้บริหาร HR ได้แนวทางในการนำตัวเลขต่างๆ มาพิจารณาเพื่อขออนุมัติการขึ้นเงินเดือนในปีหน้านะครับ ย้ำอีกครั้งนะครับ ผมเขียนบทความนี้ขึ้น เพื่อให้ท่านใช้เป็นข้อมูลประกอบการคิดและพิจารณาการของบประมาณในการขึ้น เงินเดือนสำหรับปี 2558 เท่านั้นนะครับ สุดท้ายก็คงต้องอยู่ที่ดุลยพินิจของ HR แต่ละท่านว่าจะมีการปรับตัวเลขตัวนี้ขึ้นลงสักแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจ่ายของบริษัทท่านเองแล้วล่ะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น