มีอีกหลายบริษัทที่ผู้บริหารเองก็ยังมีความสงสัยในเรื่องของโครงสร้างเงิน เดือนว่าจริงๆ แล้วบริษัทเราควรจะมีโครงสร้างเงินเดือนหรือไม่ อย่างไร มีแล้วมันดีหรือไม่ดีอย่างไร เมื่อเทียบกับการที่บริษัทไม่มีโครงสร้างเงินเดือนจะเป็นอย่างไร
ผมเองจับเรื่องนี้มานานพอสมควร ก็บอกได้เลยว่า ถ้าบริษัทสามารถที่จะออกแบบโครงสร้างเงินเดือนได้ ตามหลักการที่ถูกต้อง ก็ควรจะมีไว้ก็ไม่เสียหาย เพราะอะไรลองดูกันครับ
- ช่วยทำให้การปรับปรุงอัตราการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนของบริษัททัดเทียมกับตลาดได้ง่ายขึ้น เพราะเรามีกรอบในการจ่ายที่ชัดเจนของแต่ละระดับงาน เมื่ออัตราค่าจ้างเงินเดือนในตลาดมีการขยับ หรือเปลี่ยนแปลง เราก็สามารถที่จะปรับปรุงอัตราการจ่ายของเราให้ทัดเทียมกับตลาด เพื่อให้แข่งขันได้อยู่เสมอ จะผิดกับบริษัทที่ไม่มีโครงสร้างเงินเดือน จะปรับปรุงระบบการจ่ายค่าจ้างของตนเองได้ยากกว่า เพราะไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนพอในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน
- ช่วยทำให้การจ่ายค่าจ้างของบริษัท เป็นไปตามคุณค่าของงาน การ วางโครงสร้างเงินเดือนที่ถูกต้องนั้น จะกำหนดอยู่บนพื้นฐานของค่างาน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นจากระดับงานของบริษัทที่กำหนดไว้ ซึ่งระดับงานเหล่านี้ ก็จะมีการกำหนดอัตราการให้ค่าตอบแทนที่เป็นกรอบไว้ เพื่อไม่ให้เกิดการลักลั่นกันระหว่างงานที่มีค่างานที่แตกต่างกันไป และที่สำคัญก็คือ จะทำให้การบริหารต้นทุนค่าจ้างเงินเดือนของบริษัทอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับ ความยากง่ายของงานต่างๆ สิ่งที่จะไม่เกิดขึ้นสำหรับบริษัทที่มีการกำหนดโครงสร้างเงินเดือน และมีการกำหนดวิธีการบริหารเงินเดือนอย่างถูกต้องก็คือ เงินเดือนของพนักงานขับรถ จะไม่มีทางสูงกว่าเงินเดือนของวิศวกรที่ทำหน้าที่วิศวกรจริงๆ ในบริษัท เพราะค่างานแตกต่างกันมาก ส่วนบริษัทที่ไม่มีการกำหนดกรอบโครงสร้างเงินเดือนไว้ ก็จะมีปัญหาในเรื่องของการจ่ายเงินเดือนที่อาจจะไม่สอดคล้องกับค่างานของ ตำแหน่งงานต่างๆ ในองค์กร แต่จะจ่ายไปตามอายุงานของพนักงานเป็นหลัก ซึ่งอาจจะส่งผลต่อขวัญและกำลังใจของพนักงานในระยะยาวได้เช่นกัน
- ช่วยให้การบริหารระบบ Career Path เป็นไปได้ง่ายกว่า บริษัทที่มีโครงสร้างเงินเดือนมักจะออกแบบระบบความก้าวหน้าทางสายอาชีพของ พนักงานได้ง่ายกว่าบริษัทที่ไม่มีโครงสร้างเงินเดือน เพราะเราจะนำเอาระดับงานที่มีอยู่ไปออกแบบระบบความก้าวหน้าในการเติบโตตาม สายอาชีพได้ง่ายขึ้น และยังสามารถตอบโจทย์พนักงานในเรื่องของการเติบโตในเรื่องของค่าตอบแทนได้ อีกด้วย เมื่อมีการขยับระดับงานตามสายอาชีพ ก็จะได้รับอัตราเงินเดือนที่สูงขึ้นตามค่างาน และตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่สูงขึ้นไปอีก ซึ่งจะทำให้พนักงานเกิดความเข้าใจ และมีแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองตามสายอาชีพของบริษัทที่กำหนดไว้ ผิดกับบริษัทที่ไม่มีโครงสร้างเงินเดือน จะออกแบบระบบความก้าวหน้าทางสายอาชีพได้ยากกว่า เพราะไม่มีเกณฑ์ระดับงานในการเติบโต สุดท้ายก็กลายเป็นการเติบโตไปตามสายบังคับบัญชาซึ่งมีข้อจำกัดอยู่มาก นอกจากนั้นบางบริษัทเองยังไม่สามารถที่จะตอบคำถามพนักงานได้เลยว่า เขาจะเติบโตไปได้อย่างไร และจะได้รับเงินเดือนอย่างไรบ้าง ถ้าโตขึ้นไปได้จริงๆ พอตอบไม่ได้ พนักงานก็จะรู้สึกไม่ค่อยดี และขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน
- ช่วยทำให้การกำหนดอัตราเงินเดือนของตำแหน่งงานใหม่ๆ ทำได้ง่ายขึ้น ถ้า บริษัทของเรามีโครงสร้างเงินเดือนที่แข่งขันได้จริงๆ ตามค่างานที่เรากำหนดกันไว้ เวลาที่มีตำแหน่งงานใหม่ๆ เกิดขึ้นในองค์กรของเรา เราก็จะสามารถกำหนดอัตราเงินเดือนให้กับตำแหน่งงานใหม่นั้นได้ง่ายขึ้น และสอดคล้องกับตำแหน่งงานอื่นๆ ในองค์กรเราเองด้วย ซึ่งจะทำให้เงินเดือนมีความเป็นธรรมมากขึ้น ส่วนบริษัทที่ไม่มีโครงสร้างเงินเดือนที่ถูกต้อง ก็อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาในเรื่องของการกำหนดอัตราเงินเดือนให้กับตำแหน่ง งานใหม่ที่เกิดขึ้น ไม่รู้ว่าจะต้องกำหนดเท่าไหร่ดีถึงแข่งขันได้ บางครั้งก็ต้องเดาเอา และอาศัยที่ผู้สมัครของเงินเดือนมา ซึ่งอาจจะทำให้เงินเดือนที่เราจ่ายไปนั้นเกิดปัญหากับพนักงานเดิมในองค์กรก็ เป็นได้
แต่ประเด็นก็คือ ถ้าเราต้องการแข่งขันกับตลาดในการว่าจ้างและเก็บรักษาพนักงานไว้ให้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพแล้ว และยังมีแผนที่จะขยายและพัฒนาบริษัทไปสู่อนาคตที่ท้าทายกว่าเดิม ผมแนะนำว่า บริษัทควรจะมีการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนไว้จะดีกว่าครับ เพราะทำให้ระบบการบริหารเงินเดือนของเราได้มาตรฐาน และเกิดปัญหาในการบริหารเงินเดือนน้อยลงกว่าบริษัทที่ไม่มีโครงสร้างเงิน เดือนครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น