เชื่อ หรือไม่ครับว่า ทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจของคุณได้ อย่างไม่สิ้นสุด แค่เพียงเรารู้จักที่จะบริหารทรัพยากรบุคคลนี้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่ในทางปฏิบัติผู้บริหารหลายๆ องค์กรซึ่งต่างก็พูดเสมอว่า ทรัพยากรบุคคลนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่เวลาปฏิบัติงานจริง กลับมุ่งเน้นไปที่ยอดขาย ยอดกำไร และต้นทุนการทำงานมากกว่าเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ดีอย่างที่อ้าง ไว้ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น
คำตอบก็คือ คนเราส่วนใหญ่มักจะมองผลลัพธ์ในระยะสั้นมากกว่าครับ รีบเร่งยอดขาย เร่งกำไร เพื่อที่จะได้ทำให้ผลงานของปีนี้ได้เป้า แล้วมันก็จะวนเวียนอยู่แบบนี้ปีแล้วปีเล่า สุดท้ายเรื่องของการบริหารคน การพัฒนาคน การสร้างคน ในองค์กร ก็เลยเป็นเรื่องที่ผู้บริหารมักจะบอกว่า “เอาไว้ก่อน” เรื่อยไป
จริงๆ แล้วองค์กรมีฝ่ายบุคคลขึ้นมาก็เพื่อที่จะช่วยผู้บริหารดำเนินการเรื่องของ การบริหารคน เพื่อให้ทรัพยากรบุคคลนั้นสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้อย่างเต็ม ที่ แต่สุดท้ายผู้บริหารบางแห่งก็ยังคงมองฝ่ายบุคคลว่าเป็นแค่เพียงหน่วยงาน Admin คอยดำเนินการเรื่องของเอกสารต่างๆ การขาดลามาสายของพนักงาน รวมทั้ง การดูแลเรื่องของระเบียบข้อบังคับของพนักงานให้อยู่ในกฎระเบียบ ซึ่งความคิดแบบนี้ถือว่าเป็นความคิดที่ล้าหลังเอามากๆ เลยครับ
ปัจจุบัน นี้มีแนวคิดในเรื่องของการพยายามที่จะให้ฝ่ายบุคคลเป็นหน่วยงานที่เข้ามามี ส่วนในการสร้างและกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรด้วย โดยเฉพาะกลยุทธ์เรื่องของกำลังคน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลให้มีอัตรากำลังที่เหมาะสมพอเพียง การสร้างพลัง ขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน การดูแลให้พนักงานมีโอกาสเติบโต และทำให้พนักงานรู้สึกผูกพันกับองค์กรที่ทำงานด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้นั้นเอง แล้วฝ่ายบุคคลจะต้องทำอย่างไรเพื่อที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาวให้กับ ธุรกิจได้
- เข้าใจกลยุทธ์ขององค์กร เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งเลยก็ว่าได้ครับ ฝ่ายบุคคลที่จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้นั้น จะต้องมีความเข้าใจเรื่องของกลยุทธ์ธุรกิจขององค์กรอย่างชัดเจน ว่าองค์กรจะมุ่งไปทางไหน และการที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างที่วางกลยุทธ์ไว้นั้น เรื่องแผนของการบริหารคนนั้นจะต้องทำอย่างไร จากนั้นจึงกำหนดแผนกลยุทธ์ทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลออกมาให้สอดคล้อง กับแผนหลักขององค์กรได้
- แผนอัตรากำลัง ใน การที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ สิ่งต่อไปที่ต้องทำก็คือ การตีโจทย์จากแผนกลยุทธ์ให้ออกมาเป็นแผนกำลังคนให้ได้ครับ กล่าวคือ เป้าหมายองค์กรเป็นอย่างไรนั้นจะต้องสามารถกำหนดแผนการใช้คนได้ด้วย ว่าคนจะมีลด และต้องเพิ่มเท่าไหร่ ประเภทไหนบ้าง ทดแทนกี่คน เพิ่มใหม่กี่คน
- แผนการสรรหาคัดเลือก ถัด มาก็ต้องกำหนดแผนการสรรหาคัดเลือกพนักงานให้ชัดเจน สิ่งที่จะต้องยึดให้มั่นก็คือ แผนกลยุทธ์ขององค์กรนี่แหละครับ ว่าถ้าจะไปสู่เป้าหมายนั้นได้ เราต้องการคนลักษณะใด มีคุณสมบัติแบบใดบ้าง ไม่ใช่หาได้ปริมาณ แต่คุณภาพไม่ได้เลย แบบนี้ก็ไม่มีประโยชน์ในการที่จะทำให้แผนงานขององค์กรบรรลุเป้าหมายได้เลย
- แผนการพัฒนาพนักงาน แผน ถัดไปที่จะต้องมีถ้าต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับคนในองค์กรได้ ก็คือ จะต้องวางแผนว่าพนักงานแต่ละคนจะต้องถูกพัฒนาอะไรบ้าง ปีหน้าเราจะมุ่งไปในกลยุทธ์แบบใด แล้วถ้าจะมุ่งไปทางนั้นให้ได้ผลนั้น คนของเรายังขาดอะไร และจะต้องพัฒนาอะไรอย่างต่อเนื่อง
- แผนในการจูงใจและรักษาพนักงาน สิ่ง สำคัญของการบริหารทรัพยากรบุคคลก็คือจะทำอย่างไรให้พนักงานที่มีฝืมืออยู่ทำ งานกับองค์กรอย่างเต็มใจ และพอใจ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้สำหรับการสร้างแรงจูงใจในมุมของระบบบริหารทรัพยากร บุคคล ก็คือ เรื่องของการบริหารค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินเดือน ค่าตอบแทน การบริหารผลงาน การประเมินผลงาน และเรื่องของการขึ้นเงินเดือนตามผลงาน สิ่งเหล่านี้จะต้องเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งของแผนกลยุทธ์ ขององค์กรได้ ไม่ใช่ยิ่งทำให้คนรู้สึกแย่ลง สุดท้ายก็ไม่มีใครอยากทำงาน และเป้าหมายก็ไปไม่ถึง
ยิ่งไปกว่านั้น คนที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ HR เป็น Strategic partner หรือเป็นแค่เพียงหน่วยงาน Admin ก็คือ ผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรนั่นเองครับ ว่าท่านมองผลลัพธ์ในระยะยาวๆ หรือมองแค่เพียงระยะสั้นๆ ถ้าผู้บริหารสูงสุด และผู้จัดการเห็นความสำคัญของทรัพยากรบุคคลจริงๆ คำพูดเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้นในองค์กรครับ
- “รีบๆ หาคนเข้ามาก่อนเถอะ ดีไม่ดี เอาไว้ก่อน ตอนนี้ไม่มีคนทำงานแล้ว”
- “อบรมอีกแล้วหรอ งานตั้งเยอะ จะเอาเวลาที่ไหนไปอบรม”
- “ทำงานก่อนแล้วกัน เรื่องการพัฒนาไว้ว่างๆ แล้วค่อยทำกัน”
- “จะมาพูดเรื่อง Career อะไรกัน ตอนนี้ทำงานของตัวเองให้สำเร็จก่อนเถอะ”
- “จะเรียกเงินเดือนเท่าไหร่ ให้ไปก่อนล่ะกัน สูงกว่าพนักงานเก่าของเราก็ไม่เป็นไรหรอก เอาเข้ามาทำงานก่อน เรื่องอื่นค่อยว่ากัน”
- ฯลฯ
องค์กรของท่านล่ะครับ เป็นอย่างไรกันบ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น