ในการทำงานร่วมกันระหว่างคนในองค์กร ย่อมจะเกิดความขัดแย้งกันบ้างเป็นธรรมดา ยิ่งไปกว่านั้นงานบางงานในองค์กรก็ถูกสร้างมาเพื่อให้ขัดแย้งกันโดยธรรมชาติ ดังนั้น เราในฐานะหัวหน้างาน หรือผู้บริหารจึงไม่สามารถที่จะเลี่ยงความขัดแย้งได้เลย เมื่อเลี่ยงไม่ได้จริงๆ คุณมีวิธีการในการจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างไร ลองมาดูวิธีการในการจัดการกับความขัดแย้งของหัวหน้างานในแบบต่างๆ กันก่อนนะครับ
วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555
คุณจัดการกับความขัดแย้งอย่างไร
ในการทำงานร่วมกันระหว่างคนในองค์กร ย่อมจะเกิดความขัดแย้งกันบ้างเป็นธรรมดา ยิ่งไปกว่านั้นงานบางงานในองค์กรก็ถูกสร้างมาเพื่อให้ขัดแย้งกันโดยธรรมชาติ ดังนั้น เราในฐานะหัวหน้างาน หรือผู้บริหารจึงไม่สามารถที่จะเลี่ยงความขัดแย้งได้เลย เมื่อเลี่ยงไม่ได้จริงๆ คุณมีวิธีการในการจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างไร ลองมาดูวิธีการในการจัดการกับความขัดแย้งของหัวหน้างานในแบบต่างๆ กันก่อนนะครับ
วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555
นโยบายค่าตอบแทนกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555
คุณเป็นหัวหน้าที่มองปัญหาอย่างไร
วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ฝ่ายบุคคลสร้างคุณค่าอะไรให้กับองค์กรได้บ้าง
ทุกหน่วยงานในองค์กรต่างก็ล้วนสร้างคุณค่าให้กับองค์กรในแง่มุมที่แตกต่างกันไป ซึ่งก็อยู่ที่หน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานในองค์กร ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเองก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่จะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรด้วยเหมือนกัน แต่ในบางองค์กร ฝ่ายทรัพยากรบุคคลกลับถูกผู้บริหารมองว่าเป็นแค่เพียงหน่วยงาน Admin อย่างหนึ่งเท่านั้น งานที่มอบหมายให้ส่วนใหญ่ก็เป็นงานทางด้านเอกสารการบุคคลมากกว่า
วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ฝึกอบรมอย่างไรให้ได้ผล (ตอนจบ)
เมื่อวานได้พูดถึงสาเหตุของการฝึกอบรมที่ไม่ได้ผลไปแล้ว วันนี้จะมาต่อในเรื่องที่ว่า แล้วจะต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อให้การฝึกอบรมได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนใหญ่ผู้บริหารระดับสูงมักจะมองในเรื่องของผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งในเรื่องของการลงทุนพัฒนาพนักงานนั้น ผลตอบแทนจะไม่เห็นภายในวันนี้หรือพรุ่งนี้แน่นอน แต่จะเห็นในระยะยาว แต่ก็ต้องมีระบบบางอย่างรองรับด้วย เพื่อให้การฝึกอบรมนั้นเกิดผลอย่างแท้จริง
วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ฝึกอบรมอย่างไรให้ได้ผล (ตอนที่ 1)
เรื่องของการฝึกอบรมเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เกือบทุกองค์กรพยายามที่จะใช้วิธีนี้ในการพัฒนาพนักงาน เพื่อให้พนักงานมีทักษะและความสามารถที่สูงขึ้น แต่ก็มีผู้บริหารอีกจำนวนหนึ่งที่ตั้งข้อสงสัยว่า การฝึกอบรมที่ทำๆ กันนั้นมันได้ผลจริงๆ หรือ ฝึกอบรมกันแล้ว พนักงานจะเก่งขึ้น และมีความสามารถมากขึ้นจริงๆ หรือ แค่วิทยากรมาพูดให้ฟัง 1 – 2 วันแล้ว พนักงานจะทำงานได้ดีขึ้นจริงหรือ
วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ช่องว่างระหว่างวัยในองค์กร จะเชื่อมได้อย่างไร
วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555
SME กับการบริหารทรัพยากรบุคคล
เมื่อพูดถึง SME เราก็จะมองเห็นธุรกิจขนาดเล็ก ที่เป็นเจ้าของคนเดียว มีลูกจ้าง หรือพนักงานไม่มากนัก และทำงานด้วยกันแบบพี่ๆ น้องๆ มากกว่าที่จะมีระบบในการบริหารธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ ยิ่งไปกว่านั้นถ้าพูดกันถึงเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลสำหรับธุรกิจ SME แล้ว ยิ่งไม่ต้องพูดกันเลย เพราะเจ้าของธุรกิจ ไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก แต่ในปัจจุบัน เรื่องของการบริหารคนในธุรกิจ SME นั้น เราจะมองข้ามไม่ได้เลย เพราะสุดท้ายแล้วธุรกิจ SME จะอยู่รอดหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับทรัพยากรบุคคลนี่แหละครับ
วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องของ Work-Life Balance
เมื่อพูดถึงเรื่องของการบริหารสวัสดิการที่ดี ในยุคปัจจุบันนี้มักจะเน้นไปที่การสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัว ซึ่งการที่จะสร้างความสมดุลตรงนี้ได้ ก็คือ จะต้องสร้างความยืดหยุ่นในการทำงานให้มากขึ้นนั่นเอง และด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ผู้บริหารหลายๆ องค์กรมักจะคิดมากในการที่จะนำเอาระบบบริหารงานแบบยืดหยุ่นมาใช้ในองค์กร ก็เลยกลายเป็นความเชื่อที่ไม่ค่อยจะถูกต้องนักเกี่ยวกับการบริหารชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานให้สมดุล ก็เลยทำให้บางบริษัทไม่สนใจที่จะนำเอาระบบนี้มาใช้อีกเลย ลองมาดูกันว่า ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนั้นมีอะไรบ้าง
- จะทำให้ผู้บริหารสูญเสียอำนาจในการควบคุมพนักงาน เนื่องจากเดิมที่ผู้บริหารจะใช้อำนาจในการควบคุมพนักงานโดยใช้เรื่องของเวลาการทำงานมาใช้ในการให้คุณให้โทษพนักงาน และควบคุมการทำงานของพนักงานจากเวลาการทำงาน แต่ถ้าบริษัทใช้การทำงานแบบยืดหยุ่น ก็จะทำให้ผู้บริหารไม่สามารถควบคุมการทำงานได้แบบเดิม และจะยิ่งควบคุมการทำงานของพนักงานได้ยากขึ้น แต่ในความเป็นจริง ผู้บริหารยังสามารถควบคุมพนักงานได้ โดยควบคุมผ่านผลการทำงานที่ออกมา ซึ่งน่าจะดีกว่าการคุมผ่านเวลาการทำงานเพียงอย่างเดียว แต่ผลงานไม่ออก ดังนั้นการที่ใช้เวลาการทำงานแบบยืดหยุ่นจึงไม่ได้ทำให้ผู้บริหารสูญเสียการควบคุมพนักงานไปแต่อย่างใด
- ความยืดหยุ่นในการให้สวัสดิการนั้น ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันขึ้น ความเชื่อนี้ผู้บริหารมองว่า ถ้าเราให้สวัสดิการแก่พนักงานที่ทำงานในบริษัทเดียวกันแบบไม่เหมือนกันนั้น เป็นการสร้างความไม่เท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นในหมู่พนักงาน ผู้บริหารบางคนยังมองว่า การที่เราจัดสวัสดิการให้พนักงานทุกคนเหมือนกันหมดนี่แหละเป็นสิ่งที่เป็นธรรมที่สุด แต่ในความเป็นจริงนั้น ความต้องการของพนักงานแต่ละคนไม่มีทางที่จะเหมือนกันหมดทุกคน บางคนยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ก็ไม่ต้องการสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเกษียณอายุ หรือเรื่องค่ารักษาพยาบาลมากนัก หรือพนักงานที่อยู่ในวัยที่มีครอบครัวแล้ว ก็ต้องการสวัสดิการเรื่องของค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นการจัดสวัสดิการให้เหมาะสมกับความต้องการของพนักงานแต่ละกลุ่ม ก็น่าจะทำให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็นธรรมได้มากขึ้นกว่าแบบที่ให้เหมือนกันไปหมดทุกคน แล้วมีบางคนไม่ได้ใช้สวัสดิการนั้นเลย พนักงานจะมองว่าไม่เป็นธรรมมากกว่า
- เชื่อว่าชั่วโมงการทำงานคือผลงาน ความเชื่อนี้มักจะเป็นกับผู้บริหารรุ่นเก่าๆ ที่ยังอาศัยเรื่องของเวลาการทำงานมาวัดผลงานของพนักงาน ถ้าพนักงานคนไหนใช้เวลาในการทำงานให้กับบริษัทมาก ก็แปลว่ามีผลงานมากกว่าคนที่ให้เวลากับบริษัทน้อย ดังนั้นการใช้สวัสดิการแบบยืดหยุ่นซึ่งจะทำให้เวลาในการทำงานลดลงนั้น ก็แปลว่าผลงานของพนักงานก็ลดลงไปด้วย แต่ในความเป็นจริง ปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไปไกลมากครับ ทำให้ไม่ว่าพนักงานจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานได้ตลอดเวลา และบางครั้งการที่พนักงานได้ทำงานในสถานที่ที่ตนเองสบายใจ ก็จะทำให้ผลงานออกมาดีกว่าการนั่งทำงานในบริษัทได้
- ผู้บริหารใช้เวลาการทำงานเป็นเครื่องมือพิจารณาผลงานพนักงาน เมื่อผู้บริหารเชื่อแบบนี้ เขาก็จะมองว่า พนักงานที่ทำงานแบบยืดหยุ่น และใช้สวัสดิการของบริษัททุกตัวแบบยืดหยุ่นหมดนั้น แสดงว่าพนักงานคนนั้นทำงานให้กับบริษัทไม่เต็มที่ ก็เลยมักจะไม่พิจารณาพนักงานกลุ่มนี้ในการเลื่อนตำแหน่ง หรือการบริหารสายอาชีพพนักงานในอนาคต แต่ในความเป็นจริงแล้ว พนักงานที่ได้มีโอกาสสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัวนั้น ไม่ได้แปลว่าเขาจะไม่มีผลงาน และไม่สามารถเติบโตในองค์กรได้เสมอไป ตรงกันข้าม จะผลการวิจัยเรื่องของ Engagement นั้น ยิ่งพนักงานรู้สึกถึงความสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัวแล้ว จะยิ่งทำให้พนักงานสร้างผลงานได้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำไป
- เชื่อว่าไม่เหมาะกับการทำงานที่ต้องพบปะลูกค้า เพราะจะทำให้ลูกค้าไม่พอใจ เนื่องจากพอมาใช้บริการก็ไม่เจอพนักงาน หรือไม่สามารถติดต่อพนักงานได้ ดังนั้นจะต้องให้พนักงานบริการมาทำงานตลอดเวลาห้ามขาดงานเด็ดขาด แต่ในความเป็นจริงถ้าพนักงานสามารถสร้างความสมดุลให้กับชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้จริงๆ ก็จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดี และจะสามารถส่งมอบความรู้สึกที่ดีนี้ให้กับลูกค้าได้ด้วย ส่วนเรื่องของเวลาการทำงาน เราก็สามารถแก้ไขได้โดยการเพิ่มอัตรากำลัง หรือเพิ่มช่องทางในการติดต่อให้กับลูกค้าได้
แต่ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมในการทำงานเปลี่ยนแปลงไปเยอะมากเมื่อเทียบกับในอดีต ดังนั้นการที่ผู้บริหารยังคงคิดแบบเดิม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น จะยิ่งทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกไม่พึงพอใจมากขึ้นได้ และอาจจะมองว่า ผู้บริหารนั้นจำกัดสิทธิเสรีภาพในการทำงาน มาทำงานเหมือนกับมาเข้าเรือนจำ จะออกไปไหน จะทำอะไรก็ถูกจ้องมองไปหมด ซึ่งวิธีนี้จะใช้ในการบริหารเด็กรุ่นใหม่ๆ แทบไม่ได้เลย
การใช้สวัสดิการ และเวลาการทำงานแบบยืดหยุ่นนั้น ไม่ได้ทำให้อำนาจการควบคุมของผู้บริหารลดลงแต่อย่างใด เราจะต้องเปลี่ยนวิธีการควบคุม จากเดิมที่ใช้เวลาการทำงานเป็นหลัก เปลี่ยนมาเป็นการใช้ผลลัพธ์ในการทำงานเป็นหลักน่าจะดีกว่า โดยการตกลงผลสำเร็จของงานที่ต้องการให้ชัดเจนทั้งปริมาณ คุณภาพ และเวลา จากนั้นก็ติดตามผลงานเป็นระยะๆ ตามช่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ โดยไม่ต้องไปใส่ใจกับเวลาการทำงานของพนักงานมากนัก เราก็สามารถบริหารและควบคุมการทำงานของพนักงานได้อยู่นั่นเองครับ
วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555
สวัสดิการแปลกๆ ที่น่าสนใจ
วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ถ้าผู้นำองค์กรของท่านเป็นแบบนี้ จะทำอย่างไรดี (ภาคต่อ)
บทความวันนี้เป็นเรื่องราวในภาคต่อของบทความที่ผมเขียนลงไว้ในวันอังคารที่ผ่านมาที่ใช้ชื่อเรื่องว่า “ถ้าผู้นำองค์กรของท่านทำแบบนี้ ท่านจะรู้สึกอย่างไร” (ถ้าใครยังไม่ได้อ่านก็ตามลิงค์นี้เลยครับ http://wp.me/pBmlU-VM) เนื่องจากบทความนี้เอง ผมได้รับคำถามตามมาจากท่านผู้อ่านหลายท่านเลยครับ ที่บ่นมาว่า เจอแบบนี้ในการทำงานบ้าง กำลังคิดว่าจะเจอบ้าง บางคนก็บ่นมาให้ฟังว่า เจอแบบนี้มานานแล้ว แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ได้แต่ทำใจ ที่หนักหน่อยก็ถามมาว่า กำลังจะเปลี่ยนตัวเองจากเป็นคนที่มีหลักการมีจุดยืน แต่นายไม่เห็น เปลี่ยนเป็นคนใหม่ที่ลอยไปมาตามนายดีมั้ย เพื่อให้นายเห็น แล้วเราจะได้เติบโตในองค์กรแบบกลวงๆ แบบไหนดีกว่ากัน
วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555
องค์กรของท่านมีการวางแผนการสืบทอดตำแหน่งหรือไม่
ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ผมได้รับข้อร้องเรียน และความเห็นจากเหล่าบรรดาผู้จัดการฝ่ายบุคคล และจากเจ้าของธุรกิจบางแห่ง ว่าสร้างคนไม่ทัน และมีช่องว่างระหว่างพนักงานระดับบริหารกับพนักงานระดับผู้จัดการค่อนข้างเยอะมาก จะทำอย่างไรดี
ลักษณะปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นได้ถ้าองค์กรของเราไม่มีการเตรียมการเรื่องของการวางแผนหาผู้สืบทอดตำแหน่ง หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Succession Plan นั่นเอง
วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ถ้าผู้นำองค์กรของท่านทำแบบนี้ ท่านจะรู้สึกอย่างไร
คนที่เป็นผู้นำ ย่อมจะได้อำนาจในการสั่งการและบริหารมาด้วย และการใช้อำนาจที่ได้มานี้เองที่จะให้ผู้นำคนนั้นเป็นผู้นำที่ดี หรือผู้นำที่ไม่ดี ก็ล้วนแต่อยู่ที่การใช้อำนาจที่มีอยู่ในมือไปในทางใด ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เราได้รับทราบและศึกษาประวัติของทั้งผู้นำที่ดี และไม่ดี มาก็เยอะ แต่ในปัจจุบัน ก็ยังคงมีผู้นำที่ใช้อำนาจไปในทางที่ผิด ยิ่งไปกว่านั้นผู้นำบางคนก็ไม่รู้ (หรือแกล้งไม่รู้) เลยว่ากำลังใช้อำนาจที่มีอยู่ไปในทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกของพนักงานเป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นยังส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของผู้นำคนนั้นอีกด้วย ลองมาดูสิ่งที่ผู้นำทำกันว่า สิ่งเหล่านี้ ถ้าท่านเจอกับตัวท่านเองแล้ว ท่านจะรู้สึกอย่างไรบ้าง
- สรรหาคัดเลือกคนในครอบครัวเดียวกันเข้ามาทำงาน ผู้นำบางคนพอได้ขึ้นสู่ตำแหน่งได้ไม่นาน ก็เริ่มออกลายโดยการเพิ่มว่าจ้างพนักงานที่มีนามสกุลเดียวกันเข้ามาทำงาน บางท่านก็ใช้อำนาจโดยตรงในการสั่งการให้ฝ่ายบุคคลรับเข้าทำงานทันที โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนใดๆ ของบริษัท บางคนก็ใช้อำนาจในทางอ้อมบีบให้ฝ่ายบุคคลและหน่วยงานต้นสังกัดต้องรับเข้ามาทำงาน เพราะถ้าไม่ทำเช่นนั้นก็จะมีผลต่ออนาคตของตนเองในบริษัท
- รับเพื่อนพ้องเข้ามาเป็นผู้บริหาร ผู้นำบางคนพอได้ดำรงตำแหน่งไม่นาน ก็เลิกจ้างผู้บริหารรอบข้างเดิมทั้งหมด และรับเอาเพื่อนพ้องน้องพี่เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน ยิ่งไปกว่านั้น ในการบริหารงานก็ปล่อยปละละเลยกันไปเรื่อยๆ ให้เพื่อนแต่ละคนลุยกันไปเอง โดยไม่ใส่ใจอะไรมากนัก ลักษณะนี้ส่วนใหญ่พอบริหารไปสักพักก็จะเกิดปัญหาขึ้น และจะทะเลาะกันเอง ในเรื่องของผลประโยชน์ต่างๆ
- เลื่อนตำแหน่งให้กับคนสนิท ผู้นำบางคนพอได้ดำรงตำแหน่ง ก็จะดำเนินการหาช่องทางในการเลื่อนตำแหน่งให้กับลูกน้องเก่า หรือคนที่เคยทำงานด้วยกันมาก่อน โดยไม่สนใจเรื่องของผลงานใดๆ ของแต่ละคน สนแค่เพียงว่านี่คือสิ่งที่ผู้นำต้องทำ เพราะมีอำนาจอยู่ในมือแล้ว
- ขึ้นเงินเดือนให้กับคนที่ตนเองรักและชอบ ผู้นำบางคนพอถึงเวลาที่ฝ่ายบุคคลเสนอตัวเลขการขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงานมาให้แล้ว พอพิจารณาดูรายละเอียด ก็เห็นว่าคนที่ตนเองรักและชอบนั้นได้รับการขึ้นเงินเดือนน้อยเกินไป ก็เลยมีการปรับตัวเลขกันใหม่ เพื่อให้คนที่ตนชอบนั้นได้รับการขึ้นเงินเดือนในอัตราที่ตนอยากจะให้ โดยไปดึงเอาส่วนของคนอื่นมาให้กับคนนี้
- ไม่ฟังความคิดเห็นของคนอื่นอีกต่อไป ผู้นำบางคนพอเริ่มมีอำนาจมากขึ้น ก็เริ่มที่จะไม่ฟังคนอื่น ไม่ว่าความคิดเห็นของคนอื่นจะดีเพียงใด แต่ถ้าขัดกับความคิดเห็นของตนเองแล้ว ความคิดเห็นนั้นก็จะกลายเป็นความคิดเห็นที่ใช้ไม่ได้อีกต่อไป
ผมเชื่อเลยว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ความเชื่อมั่นใจตัวผู้นำคนนี้จะน้อยลงไปเรื่อยๆ พนักงานจะไม่อยากทำงานให้ เพราะทำไปแล้ว ผลประโยชน์ทุกอย่างก็ไปอยู่กับคนใกล้ชิดของผู้นำคนนั้น ยิ่งไปกว่านั้น พนักงานที่เก่งๆ และมีฝีมือ ก็จะทยอยกันลาออกจากบริษัทไปหมด เพราะทนไม่ได้ที่จะต้องทำงานให้กับผู้นำที่เห็นแก่ตัวแบบนี้
สุดท้ายองค์กรนั้นก็จะเริ่มอยู่ไม่ได้ และจะต้องมีการปรับปรุงองค์กรขนานใหญ่ เพื่อให้ฟื้นคืนกลับมาอีกครั้ง พอถึงเวลานั้นจริงๆ ผู้นำกลุ่มนี้ก็จะอยู่ไม่ได้อีกเช่นกัน และไปอยู่ที่อื่นก็ไม่ได้อีก เพราะทำไว้เยอะ
ในยุคสมัยที่ความรู้ทางด้านภาวะผู้นำขยายตัวอย่างมากมายเช่นในปัจจุบันนี้ ผมเองก็ไม่ค่อยเชื่อว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น เพราะเชื่อเอาเองว่า ยุคสมัยนี้ไม่น่าจะมีคนที่ใช้อำนาจไปในทางที่ผิดแล้ว เพราะเดี๋ยวนี้จะทำอะไรคนอื่นก็จะคอยจับตามองอยู่ และคนเราเองก็มีความรู้มากขึ้น แต่กลับกลายเป็นว่ายิ่งยุคที่รู้กันมากขึ้นแบบนี้ ยิ่งทำให้คนเรามีความเสื่อมทางด้านจิตใจมากขึ้นไปมากกว่าในอดีตที่ผ่านมาด้วยซ้ำไป
หลายๆ ท่านที่จะขึ้นเป็นผู้นำ ก็อยากให้ท่านเป็นผู้นำที่ดี นำพาองค์กรของท่านไปสู่ความสำเร็จ โดยใช้การบริหารที่เป็นธรรมและโปร่งใส่ แล้วท่านจะเป็นผู้นำทั้งในตำแหน่ง และผู้นำของใครอีกหลายๆ คน แม้ว่าท่านจะไม่มีตำแหน่งผู้นำแล้วก็ตาม
วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ลูกน้อง 4 แบบ คุณมีแบบไหนมากกว่ากัน
ในการทำงานร่วมกับลูกน้อง หรือทีมงานของเรา ในฐานะที่เราเป็นหัวหน้าเราย่อมจะต้องการให้ลูกน้องของเราแสดงความสามารถในการทำงานอย่างเต็มที่ และอยากให้เขาพัฒนาตนเอง พร้อมกับดึงเอาศักยภาพของตัวเองออกมาใช้ในการทำงานอย่างดีที่สุด
คำถามก็คือ คุณมีลูกน้องกี่คนที่เป็นอย่างที่คุณต้องการ
วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ทำไมหัวหน้างานจึงหวงคำชมกันนัก
คนที่เป็นพนักงานไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตามในองค์กร ก็ต้องมีหัวหน้างานของตนเองดูแลเราอยู่ ผมได้รับคำถามจากเหล่าพนักงานว่า “ทำไมหัวหน้างานถึงหวงคำชมกันนักนะ ทั้งๆ ที่ไม่ต้องเสียตังเลยสักบาท แต่สามารถทำให้พนักงานรู้สึกหัวใจพองโตได้” ท่านเองละครับคิดแบบเดียวกันหรือเปล่า
วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ท่านให้ความสำคัญกับคนที่คัดเลือกพนักงานแค่ไหน
ปัญหาของการสรรหาคัดเลือกในอดีตเป็นอย่างไร มาถึงปัจจุบันก็ยังคงติดอยู่กับปัญหาเดิมๆ ก็คือ จะทำอย่างไรที่เราจะได้คนที่เหมาะสมกับองค์กร บางองค์กรก็ใช้คำว่า เก่งและดี ที่จะสามารถเข้ามาทำงานในองค์กรนี้ได้ บางองค์กรก็ใช้แนวทางเรื่องของ Competency ในการคัดเลือกพนักงานเข้ามาทำงาน โดยมีการออกแบบเครื่องมือต่างๆ ในการคัดเลือก ไม่ว่าจะเป็นการทำแบบทดสอบทั้งด้านความรู้ และพฤติกรรม รวมถึงเรื่องของความถนัดต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เราได้คนที่เหมาะสมที่สุดเข้ามาทำงานในองค์กรของเรานั่นเอง
วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555
องค์กรของคุณทำให้ผู้สมัครงานประทับใจแค่ไหน
วันนี้อยากเล่าถึงเรื่องราวของตำแหน่งงานตำแหน่งหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการสรรหาและคัดเลือกพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นระดับไหนก็ตาม คนกลุ่มนี้มีผลต่อการตัดสินใจทำงานของผู้สมัครเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ผมเชื่อว่าหลายๆ องค์กรอาจจะมองข้ามคนกลุ่มนี้ไปก็ได้ ที่ผมกล่าวแบบนี้ก็เพราะว่า บางองค์กรหาคนไม่ได้ซักที พอพิจารณาหาสาเหตุเข้าจริงๆ จังๆ ก็ปรากฎว่าสาเหตุอยู่ที่คนที่ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือกนี่แหละครับ ที่ทำให้ผู้สมัครตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า ไม่เลือกทำงานที่บริษัทนี้ดีกว่า
วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ทำไมหลายคนถึงไม่ออกจากงานที่ตนเองไม่ชอบ
เคยรู้สึกไม่ชอบงานที่กำลังทำอยู่หรือเปล่าครับ เคยรู้สึกหรือไม่ว่า ถ้าเป็นไปได้ เราอยากจะลาออกและไปทำงานที่เราชอบมากกว่านี้ คำถามก็คือ แล้วทำไมบางคนถึงยังทนทำงานทั้งๆ ที่เป็นงานที่ตัวเองไม่ชอบเลย บางคนบอกเลยว่า ไม่มีความสุขในการทำงานนี้เลยด้วยซ้ำไป เวลามาทำงานก็คือเต็มไปด้วยความทุกข์ระทม เฝ้ารอแต่เวลาเลิกงานตอนเย็นที่จะได้มีความสุขซะที แล้วทำไมถึงไม่ลาออกไป นี่คือเหตุผลที่ทำให้คนเราไม่ลาออกจากงานที่ตนเองไม่ชอบ ลองมาดูกันนะครับว่ามีอะไรบ้าง
วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555
องค์กรของท่านมีปัญหาการสื่อสารในองค์กรบ้างหรือไม่
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเข้าไปพบกับลูกค้าที่เป็นฝ่ายบุคคลของหลายองค์กร รวมทั้งได้พบ CEO ของบริษัทเพื่อเข้าไปนำเสนองาน ช่วงเวลาที่ได้คุยกันนั้น เกือบทุกองค์กรที่ผมเข้าไปพบบ่นเหมือนกันว่า มีปัญหาด้านการสื่อสารในองค์กรอย่างมาก พนักงานไม่เคยรู้เรื่องในสิ่งที่ผู้บริหารคิดและต้องการให้ทำ ผู้บริหารเองก็ไม่เคยรู้เรื่องเลยว่าพนักงานคิดอะไรอย่างไรกับการทำงาน และกับบริษัทบ้าง องค์กรของท่านเป็นแบบนี้บ้างหรือไม่ครับ
วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ความสำเร็จ กับความล้มเหลว เป็นของคู่กัน
หลายๆคนต้องการประสบความสำเร็จ และไม่ต้องการพบกับความล้มเหลว แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ล้วนแล้วแต่ต้องล้มมาก่อนทั้งสิ้น ยกเว้นคนที่เกิดบนกองเงินกองทอง แต่ถ้าจะพิจารณาจริงๆ กว่าที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น ก็ต้องผ่านสิ่งที่เป็นปัญหา และความล้มเหลวมาแล้วทั้งสิ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)