วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

การบริหารผลงาน ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ 3

ถ้าพูดถึงเรื่องการบริหารผลงาน (Performance Management) สิ่งที่สำคัญที่ควรจะระลึกถึงมากที่สุดจะไม่ใช่เรื่องของแบบฟอร์มการประเมิน ผลงาน (Performance Appraisal) อีกแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องทำถ้าจะใช้ระบบการบริหารผลงานอย่างจริงจังก็ คือ การวางแผนผลงาน (Performance Planning) ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยเราไม่ถนัดเลย หากพูดถึงคนไทยแล้ว การวางแผนในการทำงานนั้นยังสู้คนต่างชาติไม่ได้ แม้ว่าปัจจุบันนี้ความรู้ทางด้านการจัดการจะแพร่หลายไปมากก็ตาม แต่สไตล์การทำงานของคนไทย ก็มักจะไม่ค่อยวางแผนมากนัก จะถนัดในการแก้ไขมากกว่าการป้องกันหรือวางแผน ดังนั้นเมื่อพูดถึงการวางแผนผลงานแล้ว สำหรับคนไทยยิ่งมองไม่เห็นภาพเลยว่าทำกันยังไง เพราะในเรื่องของการประเมินผล พี่ไทยเรามักจะทำการประเมินแบบใช้แบบฟอร์ม และประเมินกันส่วนใหญ่ก็ปีละ 2 ครั้ง โดยที่ในแต่ละปี หัวหน้ากับลูกน้องแทบจะไม่เคยพูดคุยกันเลยว่าผลงานที่คาดหวังในแต่ละปีคือ อะไร

การบริหารผลงาน ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ 2

เมื่อคราวที่แล้วผมได้เขียนถึงการบริหารผลงานอย่างไรให้ได้ผล และได้ทิ้งท้ายไว้ว่า การบริหารผลงานให้ประสบผลสำเร็จนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนความคิดของบรรดาหัวหน้างานทุกคนใน บริษัทให้ไปในทางเดียวกัน

บริหารผลงาน ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

ทุกท่านที่ทำงานในภาคธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะท่านที่ทำงานในระดับหัวหน้างานขึ้นไป จะต้องเคยได้ยินคำว่า การประเมินผลการปฏิบัติงานมาแล้วทุกคน แนวคิดดั้งเดิมของการประเมินผลงานที่คนส่วนใหญ่มักจะเชื่อถือและใช้เป็น ประจำก็คือ การประเมินผลงานโดยใช้แบบฟอร์มในการประเมิน และจะประเมินผลงานปีละ 2 ครั้ง โดยที่ในระหว่างปีจะไม่มีการพูดถึงเรื่องการประเมินผลงานเลย จะมีพูดคุยกัน หรือมีการประเมินกันก็ช่วงกลางปีกับปลายปีเท่านั้น

จะหาคนดีและคนเก่งมาทำงานได้อย่างไร

ท่านเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้หรือไม่ “ลูกน้องที่ทำงานด้วยผลงานแย่มาก สอนเท่าไรก็ไม่เคยจำ แถมยังทำงานแย่ลงกว่าเดิมอีก” หรือ “พนักงานคนนี้มีเก่ง และมีความสามารถมาก แต่ทำไมถึงทำงานเข้ากับคนอื่นในทีมงานไม่ได้เลย” หรือ “ได้คนเข้ามาทำงานไม่นานก็ลาออกไปหมด โดยให้เหตุผลว่าไม่ชอบงานที่ทำอยู่” หรือ “กว่าจะฝึกคนมาจนทำงานนี้ได้ แต่สุดท้ายก็ลาออกไปอยู่ที่อื่นกันหมด” ฯลฯ
จากเหตุการณ์ต่างๆ ดังกล่าวจะเห็นว่า “คน” เป็นปัจจัยสำคัญมากๆ ในการผลักดันให้บริษัทเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จที่ต้องการ หนึ่งในความรู้ที่หัวหน้างาน และผู้จัดการทุกคนต้องมีติดตัวไว้ก็คือ ความรู้ในเรื่องของการสรรหาคัดเลือกคนเข้าทำงาน หัวหน้าหลายคนอาจจะถามว่า งานนี้เป็นงานของฝ่ายบุคคลไม่ใช่หรือ ก่อนจะตอบคำถามนี้ ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ก่อน

คุณจะจมอยู่กับปัญหา หรือจะหาโอกาสใหม่ๆ

เนื่องจากผมได้รับฟังเรื่องราวจากเพื่อน และรุ่นน้องที่ทำงานอยู่ในแวดวงเดียวกัน ถึงปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามาในชีวิตของเขา ทั้งในเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว พอได้โอกาสมาเจอกัน ก็เลยมีการระบายความคับอกคับใจให้ฟังกัน เรียกว่าทำเอาเครียดกันไปเลยทีเดียว ผมเองก็มีปัญหา ทุกคนก็มีปัญหา ไม่มีใครที่ไม่เคยพบกับปัญหาแน่นอนครับ ถ้าเราเกิดมาเป็นคน ทุกคนต้องล้วนแต่เจอกับปัญหาต่างๆ นานา มาแล้วทั้งสิ้น แต่สิ่งที่จะวัดฝีมือของคนเราก็คือ เราจมอยู่กับปัญหานั้น หรือเราใช้ปัญหานั้นเป็นตัวเปิดมุมมอง และโอกาสใหม่ๆ ให้กับชีวิต

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ดีผมรับเอง แต่เรื่องไม่ดีคุณรับไป

หัวเรื่องวันนี้ดูน่ากลัวมั้ยครับ เป็นเรื่องราวของภาวะผู้นำอีกแล้วครับ โดยหลักการของการเป็นผู้นำที่ดี ซึ่งจริงๆ มันก็ไม่ใช่หลักการอะไร น่าจะเรียกกว่าเป็นสามัญสำนึกอย่างหนึ่งมากกว่า ที่คนที่เป็นผู้นำทุกคนจะต้องมีก็คือ ความรับผิดชอบ คำนี้ขอแยกออกเป็นสองคำนะครับ คือ ความรับผิด และความรับชอบ รวมกันก็เป็นความรับผิดชอบ แต่ในความเป็นจริง ก็มีผู้นำหลายคนที่รับชอบเป็นส่วนใหญ่ และอะไรที่ผิด หรือไม่ดี ก็โบ้ยให้คนอื่นรับแทน เพื่อที่จะรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ ผมว่าผู้นำแบบนี้ไม่น่าจะได้รับความน่าเชื่อถือจากพนักงานเลย เพราะเมื่อไหร่ถ้าพนักงานรู้ความจริงทั้งหมดแล้ว (ความลับไม่มีในโลก) พนักงานก็จะตีจากไปจากผู้นำแบบนี้แน่นอน

Coaching ให้สำเร็จ ต้องเริ่มจากความสัมพันธ์ที่ดี

พูดถึงเรื่องของการสอนงาน (Coaching) ในปัจจุบันนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่บริษัทส่วนใหญ่พยายามพัฒนาให้หัวหน้างาน และผู้จัดการมีทักษะในการสอนงานลูกน้องตนเอง แต่ถ้าจะถามว่าสำเร็จสักแค่ไหน อันนี้ก็คงจะยังไม่มากนักที่จะมีบริษัทที่หัวหน้างานทุกคนเป็น coach ที่ดี และสามารถสอนงานลูกน้องตนเองได้อย่างดี

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเวลา

ผมเชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านรู้จักคำว่า “เวลา”  ”เวลา” จะอยู่กับเราตั้งแต่เราเกิดไปจนเราไม่อยู่ในโลกนี้ และแม้ว่าเราจะไม่อยู่บนโลกนี้แล้วก็ตาม แต่เวลาก็ยังคงมีอยู่ในโลก สิ่งที่อยากสอบถามก็คือ เรารู้จักคุณค่าของเวลาที่เรามีอยู่นั้นมากน้อยเพียงใด