ในปี 2556 ที่กำลังจะผ่านไปนี้ ผมเองได้งานเกี่ยวกับการวางระบบบริหารผลงานอยู่มากพอสมควร บริษัทต่างๆ หันมาให้ความสนใจ และให้ความสำคัญกับระบบบริหารผลงานมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะต้นทุนทางด้านค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นประกอบกับการแข่ง ขันกันทางธุรกิจเองก็มีมากขึ้นเช่นกัน บริษัทจึงต้องการรักษาตำแหน่งของการแข่งขันไว้ อีกทั้งยังต้องการที่จะเอาชนะคู่แข่งให้ได้อีกด้วย ระบบบริหารผลงานก็เลยเข้ามาตอบโจทย์เหล่านี้แก่ผู้บริหารองค์กร
เวลาที่ไปนำเสนอระบบบริหารผลงานกับผู้บริหาร และพนักงาน คนสองกลุ่มนี้จะมีมุมมองที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงต่อระบบที่ว่านี้ ลองมาดูมุมมองของแต่ละฝ่ายกันนะครับ
มุมมองผู้บริหาร
- ผู้บริหารองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารระดับสูงนั้น พอฟังแนวคิดการบริหารผลงานจบ ส่วนใหญ่ต่างก็ให้ความสนใจ และมองเห็นโอกาสในการนำเอาระบบนี้ต่อยอดเพื่อให้ธุรกิจเจริญก้าวหน้าออกไป อีก เนื่องจากระบบบริหารผลงานนั้น มีแนวคิด และตรรกะที่ง่ายต่อการบริหาร และการทำความเข้าใจ กล่าวคือ ผลงานขององค์กรจะดี หรือไม่ดี จะได้เป้า หรือไม่ได้เป้านั้น ขึ้นอยู่กับผลงานของผู้จัดการแต่ละสายงาน และผลงานของพนักงานแต่ละคน ที่จะต้องมีการเชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กร และถ้าผู้จัดการสามารถที่จะช่วยกันบริหารผลงานพนักงานให้ได้ตามเป้าหมายที่ กำหนดไว้ ผลงานองค์กรก็จะได้ตามเป้าหมายไปด้วย ผู้บริหารระดับสูงก็มักจะซื้อความคิดของระบบนี้
- มีตัวชี้วัดผลงานที่จะบอกได้ว่า ผลงานของใครเป็นอย่างไรได้อย่างชัดเจน และสามารถที่จะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญก็คือ สามารถที่จะนำไปใช้ในการให้รางวัลผลงานได้อย่างเป็นธรรมมากขึ้น ลดความรู้สึกของคนที่จะต้องดูผลงานลูกน้องลงไปได้เยอะมาก ที่สำคัญ ตัวผู้บริหารและผู้จัดการจะอธิบายผลงานของพนักงานได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
- มีระบบการบริหารจัดการที่ดี เพราะเป็นการวางระบบให้หัวหน้ากับลูกน้องได้พูดคุยกัน ได้สื่อสารกันในเรื่องของผลงาน การพัฒนางานกันมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งของเดิม หัวหน้าบางคนแทบจะไม่เคยคุยเรื่องผลงานกับลูกน้องเลยก็มี
- พอเอามาใช้ในการประเมินผลงานก็จะง่ายขึ้น เป็นรูปธรรมมากขึ้น อีกอย่างก็คือ เป็นการเน้นไปที่การพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ประเมินเพื่อที่จะเอาไปขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัสแล้วก็จบ
- ไม่ค่อยชอบ เพราะว่าทำให้เขาเหนื่อยและยุ่งยากมากขึ้น บางคนบ่นให้ฟังว่า งานประจำก็เยอะอยู่แล้วยังต้องมาบริหารผลงานอะไรนี่อีก ไม่รู้จะทำไปทำไม (คนที่บ่นนี่ผมก็งงนะครับว่า แล้วงานที่เขาทำอยู่ทุกวันในฐานะผู้จัดการนั้น เขาไม่ได้บริหารผลงานของลูกน้องเลยหรืออย่างไร)
- ต่อต้านการใช้ KPI ผู้จัดการ และพนักงานบางคน ถึงกับออกอาการต่อต้านการนำเอาตัวชี้วัดผลงานมาใช้กันเลยก็มี พยายามที่จะหาเหตุผล หากรณีต่างๆ ที่จะมาหักล้างว่า KPI มันไม่ดี ใช้ไม่ได้ผลอะไรเลย ไม่มีประโยชน์อะไรกับองค์กรเลย มีแต่จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายตามมา (ความเห็นผมก็คือ ถ้าเราใช้มันให้ถูกวิธี KPI จะมีประโยชน์มากกว่าที่เราคิดมากเลยครับ)
- อีกสาเหตุที่ต่อต้าน ก็คือ ผู้จัดการคนนั้น เคยโม้ไว้กับผู้บริหารว่า งานของหน่วยงานเขานั้น ได้เป้า มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยที่ไม่มีการเก็บตัวเลขอะไรมายืนยัน พูดแต่เพียงปากเปล่า พอจะเอา KPI มาใช้จริงๆ ก็เริ่มกลัว เพราะจริงๆ แล้วเขาอาจจะทำไม่ได้ตามที่เขาเคยพูดไว้ก็ได้ แต่ที่พูดไปก็เนื่องจากพิสูจน์ลำบาก พอมีตัวเลขมาจับกันจริงๆ ก็เลยกลัว และเริ่มออกอาการต่อต้าน
- เกิดอาการกลัวในเรื่องของการพูด คุย Feedback ผลงานกับลูกน้องของตนเอง เนื่องจากไม่เคยคุยอะไรแบบนี้กับลูกน้องมาก่อน ก็เลยไม่รู้ว่าจะต้องพูดอะไรอย่างไร อีกอย่างบางคนก็มองว่าการคุยกับพนักงานเรื่องผลงานนั้นเป็นเรื่องที่เสีย เวลาทำงาน (ไม่รู้คิดได้ยังไง เพราะจริงๆ แล้วถ้าเราคุยกับลูกน้องเรื่องผลงานบ่อยๆ มันจะทำให้ลูกน้องเห็นว่าอะไรที่ดี อะไรที่ไม่ดี และต้องพัฒนา และยังสามารถที่จะช่วยลูกน้องให้ทำงานได้ตาม KPI ที่ตั้งไว้อีกด้วย) แต่ที่กลัวๆ กันก็น่าจะเป็นเพราะไม่เคยทำ และไม่อยากเปลี่ยนแปลงอะไรมากกว่า
- ไม่ชอบเพราะโทษฝ่ายบุคคลไม่ได้อีกต่อไปในเรื่องของการให้รางวัล ด้วยระบบบริหารผลงานที่ดีนั้น จะทำให้เรามองเห็นผลงานของพนักงานแต่ละคนจริงๆ ว่าเป็นอย่างไร และมีเกณฑ์ในการให้คะแนน และเกณฑ์ในการให้รางวัลตามผลงานที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งพอมันชัดเจนมากๆ ก็เลยทำให้หัวหน้างาน และผู้จัดการบางคน หมดสิทธิที่จะอาศัยช่องว่างของผลงานที่เบลอๆ ของพนักงานมาให้คุณให้โทษพนักงานตามคนที่เขาชอบ หรือไม่ชอบ แล้วก็โยนบาปนี้ไปให้กับฝ่ายบุคคล ว่าที่ทำแบบนี้ก็เนื่องจากนโยบายการประเมินผลงานของบริษัทไม่ชัดเจน ฝ่ายบุคคลไม่ยอมทำให้มันชัดซะที แต่พอจะทำให้ชัดเจนกลับมาต่อต้านกัน ก็เลยไม่รู้ว่าจะเอาอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น